13 ธันวาคม 2552

กติกาการแข่งขันกรีฑา

กติกาการแข่งขันทั่วไป


กติกาข้อ 1
สิ่งอำนวยการความสะดวกของสนามกรีฑา (The Athletic Facility)


           สนามที่มีผิวหน้าเป็นแบบเดียวกันและมั่นคงแข็งแรงตรงตามที่คู่มืออำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF กำหนดจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้ การแข่งขันกรีฑาประเภทประเภทลู่และประเภทลานภายใต้กติกาข้อ 12.1 a, b, c, d และการแข่งขันที่ IAAF ควบคุมโดยตรงจะต้องใช้สนามที่ผิวลู่ทำด้วยยางสังเคราะห์เท่านั้นและต้องโดยตรงจะต้องผ่านความเห็นชอบรับรองว่าเป็นชั้น 1 จาก IAAF จึงจะอนุญาตให้จัดการแข่งขันได้ เป็นข้อแนะนำว่า เมื่อสามารถใช้ลู่ยางสังเคราะห์ได้ การแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e), (f), (g), และ (h) ก็ควรใช้ลู่ยางสังเคราะห์
          ในทุกรายละเอียดของเอกสารประกอบที่รับรองความถูกต้องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งประเภทลู่และประเภทลานตามแบบแผนใต้ระบบการรับรองของ IAAF ซึ่งต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดในการแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (h)
           หมายเหตุ 1: หนังสือคู่มือสิ่งอำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF ซึ่งพิมพ์ในปี 1999 สามารถซื้อได้จากกองเลขาธิการของ IAAF ในเล่มบรรจุเนื้อหาและคำอธิบายไว้อย่างครอบคลุม ระบุถึงการวางแผนและการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของกรีฑาประเภทลู่ประลาน รวมทั้งแผนผังการวัดระยะและการทำเครื่องหมายต่าง ๆ
          หมายเหตุ 2: แผนผังมาตรฐานที่รับรองแล้วของการวัดระยะสิ่งของอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ สามารถติดต่อขอได้จาก IAAF และศึกษาได้จากเครือข่าย (Website) ของ IAAF
          หมายเหตุ 3: กติกาข้อนี้ไม่ใช่กับการแข่งขันวิ่งและการแข่งขันเดินที่อยู่ในประเภทถนนและวิ่งข้ามทุ่ง


กติกาข้อ 2


กลุ่มอายุ (Age Group)
กลุ่มอายุต่อไปนี้สามารถใช้กับการแข่งขันของ IAAF ได้


ยุวชนชายและหญิง : คือนักกรีฑาที่มีอายุ 16 หรือ 17 ปี โดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
เยาวชนชายและหญิง : คือนักกรีฑาที่มีอายุ 18 หรือ 19 ปีโดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
สูงอายุ ชาย : นักกรีฑาชายอายุ 40 ปีบริบูรณ์
สูงอายุหญิง : นักกรีฑาหญิงอายุ 35 ปีบริบูรณ์


หมายเหตุ : เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันสูงอายุ แนะนำให้ใช้หนังสือคู่มือ IAAF/WAVA ซึ่งผ่านการรับรองจากสภาของ IAAF และ WAVA


กติกาข้อ 3


การสมัคร (ENTRIES)


           1. การแข่งขันภายใต้กติกาของ IAAF จำกัดสำหรับนักกรีฑาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกติกาของ IAAF เท่านั้น
          2. ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาคนใดเข้าร่วมการแข่งขันนอกประเทศของตน นอกจากเขาจะได้รับรองสถานภาพจากสมาคมกรีฑาแห่งประเทศของตนอนุญาตให้เข้าแข่งได้ การแข่งขันระหว่างประเทศ และการรับรองสถานภาพของนักกรีฑาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับได้ นอกจากจะมีการคัดค้านเกี่ยวกับสถานภาพของเขาได้ถูกเสนอต่อ IAAF เท่านั้น


การแข่งขันพร้อมกันหลายรายการ


         3. ถ้าผู้เข้าแข่งขันสมัครเข้าแข่งขันทั้งประเภทลู่และลานหรือในประเภทลานมากกว่าหนึ่งรายการ ซึ่งจะต้องแข่งขันพร้อมกันผู้ชี้ขาดอาจยินยอมให้นักกรีฑาทำการแข่งขันรอบในเวลาหนึ่งหรือทำการประลองแต่ละครั้งในการกระโดดสูงและกระโดดค้ำ และอนุญาตให้ผู้แข่งขันทำการประลองแตกต่างไปจากลำดับที่ได้กำหนดไว้ก่อนเริ่มการแข่งขันได้ ถ้านักกรีฑาผู้นั้นไม่อยู่เพื่อทำการประลอง ถือว่าขอผ่านการประลองหนึ่งครั้งเมื่อการประลองรอบนั้น ๆ ผ่านไป


การละเลยไม่เข้าร่วมในการแข่งขัน


          4. ในการแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) , (b) และ (c) ยกเว้นถ้ามีเงื่อนไขตามที่กล่าวไว้ข้างล่าง ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันต่อไป รวมทั้งการวิ่งผลัดในกรณีที่


              (i) ได้ยืนยันครั้งสุดท้ายแล้วว่า จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้นแต่มิได้เข้าร่วมการแข่งขัน เขาจะถูกตัดชื่อออกจากการแข่งขันรายการนั้นอย่างเป็นทางการ
              (ii) นักกรีฑาผ่านรอบคัดเลือกได้เข้ารอบต่อ ๆ ไป แต่เขาละเลยที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในรอบที่มีสิทธิ์นั้น ๆ


          ใบรับรองแพทย์ ซึ่งลงนามรับรองโดยเจ้าหน้าที่แพทย์ที่แต่งตั้งหรือได้รับความเห็นชอบจาก IAAF และหรือคณะกรรมการบริหาร อาจจะเพียงพอสำหรับการยอมรับในกรณีที่ นักกรีฑาไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันหลังจากที่ได้ยืนยันแล้วหรือหลังจากที่การแข่งขันรอบก่อนหน้านั้นได้ผ่านไปแล้ว แต่สามารถที่จะแข่งขันในรายการของวันต่อไปได้


          หมายเหตุ : 1. เวลาที่กำหนดแน่นอนสำหรับการยืนยันครั้งสุดท้ายในการเข้าร่วมการแข่งขันควรพิมพ์ไว้ล่วงหน้า


          2. การละเลยที่จะเข้าการแข่งขัน รวมทั้งละเลยที่จะแข่งขันอย่างซื่อสัตย์ ด้วยความมานะอย่างสุจริตใจ


         ผู้ชี้ขาดที่รับผิดชอบจะเป็นผู้ตัดสิน และต้องบันทึกเหตุการณ์ลงในใบบันทึกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแข่งขันรายการเฉพาะบุคคลประเภทรวม


กติกาข้อ 4.


เสื้อผ้า รองเท้า และหมายเลขประจำตัวนักกรีฑา (CLOTHING, SHOES AND NUMBER BIBS)


เสื้อผ้า


            1. ในการแข่งขันกรีฑาทุกรายการ นักกรีฑาจะต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด ออกแบบอย่างเหมาะสม และสวมใส่ไม่ดูน่าเกลียดเสื้อผ้าจะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่โปร่งบางแม้เวลาเปียกน้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่สวมเสื้อผ้าซึ่งอาจขัดขวางสายตาของผู้ตัดสิน
            การแข่งขันทั้งหมดภายในกติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (e) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ การแข่งขันทั้งหมด ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e) (สโมสรชิงถ้วย) ถึง (h) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ หรือที่สโมสรกำหนดอย่างเป็นทางการ พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ และให้เกียรติใด ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันความมุ่งหมายของกติกาข้อนีรองเท้า
            2. ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าแข่งขันด้วยเท้าเปล่า สวมรองเท้าข้างเดียวหรือสองข่างก็ได้ จุดมุ่งหมายที่สวมรองเท้าเข้าแข่งขันก็เพื่อป้องกันเท้า ทำให้เท้ามั่นคง กระชับกับพื้นสนาม อย่างไรก็ตามรองเท้าดังกล่าวนี้ต้องไม่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เข้าแข่งขันได้เปรียบ จะต้องไม่มีสปริงหรือเครื่องมือใด ๆ ติดอยู่กับรองเท้า จะมีสายรัดหลังเท้าด้วยก็ได้ การแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (b) ที่แข่งขันมากกว่าหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ทีมจะต้องรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเรื่องรองเท้าที่นักกรีฑาสวมแข่งขันต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาเปลี่ยนไปใช้รองเท้าคู่อื่น ตลอดเวลาการแข่งขันนั้น นักกรีฑาที่แข่งขันประเภทรวมจะต้องรายงานว่าในแต่ละรายการ จะสวมใส่รองเท้าอะไร


จำนวนตะปูรองเท้า


          3. พื้นรองเท้าและส้น ให้มีตะปูได้ข้างละ 11 ตัว จะใช้จำนวนเท่าใดก็ได้แต่ไม่เกิน 11 ตัว


ขนาดของตะปูรองเท้า


          4. การแข่งขันในลู่ยางสังเคราะห์ ความยาวของตะปูที่ยื่นจากพื้นรองเท้าและส้นต้องไม่ยาวเกินกว่า 9 มิลลิเมตร นอกจากในการกระโดดสูงและการพุ่งแหลน ให้ยาวไม่เกิน 12 มิลลิเมตร ตะปูเหล่านี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด 4 มิลลิเมตร ความยาวของตะปูไม่เกิน 25 มิลลิเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4 มิลลิเมตร อนุญาตให้ใช้ได้ในสนามที่ลู่วิ่งไม่ได้ทำด้วยยางสังเคราะห์


พื้นรองเท้าและส้นรองเท้า


         5. พื้นรองเท้าและส้นอาจเป็นร่อง เป็นสัน เป็นลอนบางหรือมีปุ่มยื่นออกมาก็ได้ แต่ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำขึ้นมาจากวัสดุที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับพื้นรองเท้านั้น ในการกระโดสูงและกระโดดไกลพื้นรองเท้าจะมีความหนาได้ไม่เกิน 13 มิลลิเมตร และส้นรองเท้าของกระโดดสูงจะมีความหนาได้ไม่เกิน 19 มิลลิเมตร ในการแข่งขันชนิดอื่น ๆ ทั้งหมดพื้นรองเท้าและ/หรือส้นรองเท้าจะมีความหนาแตกต่างกันไป


สิ่งที่สอดใส่และเพิ่มเติมแก่รองเท้า


          6. ผู้เข้าแข่งขันไม่ควรใช้อุปกรณ์ใด ๆ อื่น อีกทั้งภายในและภายนอกรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้าเพิ่มเติมขึ้นเกินกว่าระดับสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ หรือสามารถทำให้ผู้สวมได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งแตกต่างจากการใช้รองเท้าตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ผ่านมา


หมายเลขผู้เข้าแข่งขัน


          7. ผู้เข้าแข่งขันทุก ๆ คนจะได้รับหมายเลข 2 แผ่น ซึ่งเขาจะต้องติดให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่หน้าอกและหลังในระหว่างการแข่งขันนอกจากในการแข่งขันกระโดดสูงและกระโดดค้ำ ซึ่งจะใช้หมายเลขเพียงแผ่นเดียวติดไว้ที่หน้าอกหรือหลัง หมายเลขจะต้องตรงกับหมายเลขที่ระบุในรายการการแข่งขัน ถ้าสวมชุดอุ่นร่างกายในระหว่างการแข่งขันหมายเลขดังกล่าวนั้นจะต้องติดสูงที่ชุดอบอุ่นร่างกายในทำนองเดียวกัน


          8. จะต้องติดหมายเลขให้หันหน้าออก ห้ามตัด พับ หรือปิดบังในทุกกรณีในการแข่งขันระยะไกลอาจเจาะรูเพื่อระบายอากาศได้แต่ห้ามเจาะรูบนตัวหนังสือหรือตัวเลข


          9. ถ้าใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพที่เส้นชัย คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจำเป็นต้องให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันติดหมายเลขเพิ่มอีกที่ด้านข้างกางเกงขาสั้น จะไม่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมคนใดที่ไม่ได้ติดหมายเลขเข้าร่วมการแข่งขัน


กติกาข้อ 5


การช่วยเหลือนักกรีฑา (ASSISTANCE TO ATHLESTES)


การบอกเวลาระหว่างการแข่งขัน
         
            1. เวลาระหว่างการแข่งขัน และเวลาสำหรับผู้ชนะรอบคัดเลือก ควรจะประกาศหรือแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการ ผู้ที่อยู่บริเวณสนามแข่งขันจะแจ้งเวลาดังกล่าวให้แก่นักกรีฑาในขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาดเสียก่อน
การให้ความช่วยเหลือ


            2 ข้อต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ
               (i) การติดต่อสื่อสารระหว่างนักกรีฑากับผู้ฝึกสอนของเขาที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณสถานแข่งขัน เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปโดยสะดวกและไม่เป็นการรบกวนการชมการแข่งขัน ความสำรองที่นั่งที่อยู่ใกล้สถานแข่งขันมากที่สุดไว้สำหรับผู้ฝึกสอนของนักกรีฑาแต่ละคนในทุก ๆ รายการแข่งขันประเภทลาน
               (ii) การทำกายภาพบำบัด และการตรวจรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อให้ นักกรีฑาสามารถเข้าร่วมการแข่งขันหรือแข่งขันต่อไปได้ด้วยการแต่งตั้งหรือเห็นชอบจากคณะแพทย์ และ / หรือจากผู้แทนเทคนิคที่เฉพาะเจาะจง อนุญาตทำให้ทำโดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่เป็นการถ่วงเวลาการแข่งขัน หรือหลีกเลี่ยงลำดับการประลองตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นการดูแลรักษาหรือการให้ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นใดในระหว่างแข่งขันหรือช่วงกระชั้นชิดก่อนการแข่งขันนับตั้งแต่ นักกรีฑาได้ออกจากห้องรายงานตัวจะถือเป็นการให้ความช่วยเหลือ


จากวัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ข้อต่อไปนี้ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ จึงไม่อนุญาต


               (i) การเคลื่อนที่เคียงคู่กันไปในระหว่างการแข่งขันกับผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขัน หรือกับนักวิ่งหรือนักเดินที่โดนแซงรอบไปแล้วหรือกำลังจะถูกแซงรอบ หรือโดยใช้อุปกรณ์เทคนิคใดๆ ช่วยเหลือ
               (ii) ใช้วิดีทัศน์ หรือเครื่องบันทึกเสียงหรือภาพ วิทยุ ซีดี วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์พกพา หรืออุปกรณ์ที่คล้ายในบริเวณสถานแข่งขัน นักกรีฑาคนใดให้หรือรับการช่วยเหลือภายในบริเวณสถานแข่งขันในระหว่างการแข่งขันจะถูกเตือนจากผู้ชี้ขาด ถ้าทำซ้ำอีกจะถูกตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขันรายการนั้น


การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสลม
              
               3. ควรมีถุงลมตั้งไว้ในตำแหน่งที่ใกล้กับจุดเริ่มแข่งขันประเภทกระโดดทุกรายการ รวมทั้งขว้างจักร และพุ่งแหลน เพื่อให้นักกรีฑาได้ทราบถึงทิศทางและความแรงของกระแสลม


เครื่องดื่ม/ฟองน้ำ (Drinking/ Sponging)


               4. ในการแข่งขันประเภทลู่ระยะทาง 5,000 เมตร หรือไกลกว่าคณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจะจัดน้ำ และฟองน้ำไว้ให้นักกรีฑา ถ้าสภาพของอากาศเป็นเหตุสมควรให้มีการจัดบริการเช่นนั้นได้


กติกาข้อ 6


การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน (DISQUALIFICATION)


           ถ้านักกรีฑาถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขันจากการละเมิดต่อกติกาของ IAAF จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการว่าละเมิดกติกาของ IAAF ข้อใด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ปกป้องไม่ให้นักกรีฑาคนนั้นเข้าร่วมในรายการต่อไป


           นักกรีฑาคนใดแสดงความไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือแสดงกิริยาไม่เหมาะสมจนทำให้หมดสิทธิ์จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่อไปทั้งหมด จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการถึงเหตุผลที่ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันถ้าการละเมิดนั้นถูกพิจารณาว่าร้ายแรง ผู้อำนวยการจัดการแข่งขันจะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเพื่อพิจารณาดำเนินการลงโทษทางวินัยต่อไป


กติกาข้อ 7.


การประท้วง และอุทธรณ์ (PROTESTS AND APPEALS)


           1. การประท้วงที่เกี่ยวกับสถานภาพของนักกรีฑาที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องกระทำก่อนเริ่มการแข่งขันโดยยื่นคำประท้วงต่อผู้แทนเทคนิค เมื่อผู้แทนเทคนิคพิจารณาแล้วจะส่งเรื่องต่อไปให้กรรมการอุทธรณ์ ถ้าเรื่องนั้นไม่สามารถตกลงกันได้อย่างน่าพอใจก่อนการแข่งขัน ก็ให้นักกรีฑาผู้นั้นลงได้ “ภายใต้การประท้วงแล้วให้เสนอการประท้วงไปยังสภาของ IAAF ต่อไป
          2. การประท้วงเกี่ยวกับการผลการแข่งขันหรือการดำเนินการแข่งขันจะต้องทำภายใน 30 นาที เมื่อได้มีการประกาศแข่งขันอย่างเป็นทางการแล้ว คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องรับผิดชอบสำหรับผลการแข่งขันแต่ละประเภทไว้ด้วย
          3. การประท้วงในกรณีใด ๆ ในครั้งแรกควรจะประท้วงด้วยวาจาโดยตัวนักกรีฑาเองหรือตัวแทนต่อผู้ชี้ขาดเพื่อให้การตัดสินนั้นเป็นธรรมผู้ชี้ขาดควรพิจารณาตามหลักฐานทุกอย่างที่ปรากฏ ที่เขาเห็นว่าจำเป็น รวมทั้งภาพถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งจัดทำโดยผู้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการ ผู้ชี้ขาดอาจเป็นผู้ตัดสินการประท้วงเอง หรือส่งเรื่องนั้นให้แก่กรรมการอุทธรณ์ ถ้าผู้ชี้ขาดตัดสินเองจะต้องมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อกรรมการอุทธรณ์ด้วย
          4. ในการแข่งขันประเภทลาน ถ้านักกรีฑาทำการประท้วงด้วยวาจาทันทีต่อการตัดสินการประลองฟาล์ว หัวหน้าผู้ตัดสินของการแข่งขันอาจสั่งด้วยความระมัดระวังและความรอบคอบของเขาเองให้มีการวัดระยะผลการประลอง และบันทึกผลที่ได้รับไว้เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้


          ในการแข่งขันประเภทลู่ ผู้ชี้ขาดลู่อาจใช้ดุลยพินิจของตนเองอนุญาตให้นักกรีฑาเข้าแข่งขันได้ แม้ในขณะที่มีการประท้วงหากมีนักกรีฑาประท้วงด้วยวาจาทันที หลังจากที่ได้รับทราบว่าออกตัวไม่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง
          
           อย่างไรก็ตาม ไม่อาจยอมรับการประท้วงได้ หากการปล่อยตัวไม่ถูกต้องนั้น ถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์การปล่อยตัวอย่างไม่ถูกต้อง


          5. การประท้วงต่อคณะกรรมการรับอุทธรณ์ต้องกระทำภายใน 30 นาที หลังจากผู้ชี้ขาดได้ตัดสินและประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้ว


         การประท้วงต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในฐานะตัวแทนของนักกรีฑาพร้อมเงินมัดจำ 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่า เงินจำนวนนี้จะถูกยึดถ้าการประท้วงนั้นตกไป


         6. คณะกรรมการรับอุทธรณ์จะต้องปรึกษากับบุคคลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์สงสัยจะต้องพิจารณาหลักฐานวีดิทัศน์ต่าง ๆ ที่หาได้ ถ้าหลักฐานเช่นนั้นเป็นข้อสรุปไม่ได้ จะต้องคงคำตัดสินของผู้ชี้ขาดไม่ได้ตามเดิม


กติกาข้อที่ 8.


การแข่งขันรวมกัน (MIXED COMPETITION)


การแข่งขันทุกรายการที่เสร็จสิ้นภายในสนามกรีฑา จะไม่อนุญาตให้เพศชายกับเพศหญิงแข่งรวมกัน


กติกาข้อ 9.




การวัด (MEASUREMENTS)


           สำหรับการแข่งขันประเภทลู่และลาน ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (c) การวัดทุกอย่างต้องวัดด้วยสายวัดที่ทำด้วยเหล็กกล้าหรือไม้วัดหรือเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแข่งขันระดับอื่น ๆ อาจใช้สายวัดที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสได้ ความเที่ยงตรงของเครื่องมือในการวัดใด ๆ ที่นำมาใช้ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานทางการชั่งและการวัด


กติกาข้อ 10.


สถิติที่รับรอง (VALIDTY AND PERFORMANCES)


           ไม่ถือว่าสถิติที่นักกรีฑาทำได้จะได้รับการรับรอง นอกจากการทำสถิตินั้นเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันที่คณะกรรมการได้จัดขึ้นภายใต้กติกาของ IAAF


กติกาข้อ 11.


การบันทึกวีดิทัศน์ (VIDEO RECORDING)


ในการแข่งขันที่จัดขึ้นภายใต้กติกาเป็นข้อเสนอแนะว่าให้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการในการแข่งขันกรีฑาทุกประเภทถ้าสามารถทำได้ ซึ่งความถูกต้องเที่ยงตรงของการแข่งขันและการละเมิดกติกาต่าง ๆ จะถูกบันทึกไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

กติกาข้อ 12.

การคิดคะแนน (SCORING)


         ในการแข่งขันซึ่งผลการแข่งขันนั้นกำหนดโดยการให้คะแนนวิธีการให้คะแนนควรจะตกลงกันโดยประเทศผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดก่อนเริ่มการแข่งขัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น