13 ธันวาคม 2552

สนามกรีฑา



         สนามกรีฑา 400 เมตร คือ สนามที่มีทางวิ่งเป็นวงรอบประกอบด้วยทางวิ่งที่เป็นทางตรง และทางโค้ง ถ้าวิ่งชิดขอบในสุดโดยห่างจาก


        ขอบใน 30 เซนติเมตร (ขอบในทำด้วยคอนกรีตหรือโลหะ) หรือ 20 เซนติเมตร (ขอบในทำด้วยปูนขาวหรือทาด้วยสี) เมื่อวิ่งครบ 1 รอบ


        จะได้ระยะทาง 400 เมตร พอดี

สิ่งควรทราบ


ลู่วิ่ง คือ ทางวิ่งทั้งหมด


ช่องวิ่ง คือ อาณาเขตที่แบ่งย่อยจากลู่วิ่ง เป็นช่องวิ่งที่ 1 ช่องวิ่งท ี่2....ช่องวิ่งที่ 8 มีความกว้างช่องวิ่งละ 1.22 เมตร


การวัดความกว้างวัดจากขอบนอกถึงขอบในเส้นของช่องวิ่งกว้าง 5 เซนติเมตร


รัศมีทางวิ่ง คือ รัศมีที่วัดจากจุดศูนย์กลางไปถึงทางวิ่งของช่องวิ่งนั้นๆ


รัศมีขอบใน คือ รัศมีที่วัดจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบในของช่องวิ่งนั้นๆ



ภาพที่ 1 : รัศมีทางวิ่ง รัศมีขอบใน


R1 = รัศมีขอบในช่องวิ่งที่ 1 (ขอบในทำด้วยคอนกรีต หรือโลหะ)


R2 = รัศมีขอบในช่องวิ่งที่ 2


R3 = รัศมีทางวิ่งของช่องวิ่งที่ 1 ห่างขอบใน 30 เซนติเมตร


R4 = รัศมีทางวิ่งของช่องวิ่งที่ 2 ห่างขอบใน 20 เซนติเมตร







ประเภทและระดับของนักวิ่ง

ประเภทและระดับของนักวิ่ง



         ระดับของนักวิ่งที่ได้จำแนกมานี้ ทำขึ้นเพื่อช่วยให้ท่านสำรวจตัวเอง ว่าท่านเป็นนักวิ่งระดับใด เพื่อนำมาวางแผนการฝึก ให้สอดคล้องทั้งเป้าหมาย ระยะทางวิ่งในอาทิตย์ ระยะทางที่จะวิ่งในวันยาว การฝึกความเร็วตารางการฝึก และวางแผนการแข่งต่าง ๆ ตลอดปี ขอให้ท่านใช้เป็นเพียงแนวทาง อย่าได้ยึดถือเป็นสูตรสำเร็จ เช่นหากท่านเป็นนักวิ่ง ประเภทวัยรุ่นที่วิ่งเร็วอยู่แล้วโดยธรมชาติ ก็ลดระยะทางซ้อมลง แต่เพิ่มความเร็วมากขึ้น


นักวิ่งสูงอายุ


         ช่วงอายุ 26-30 ปี นับได้ว่าเป็นช่วง " สุดยอด " ของกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม ที่ต้องให้ใช้ความทนทานเป็นหลัก เช่นการวิ่ง หลังจากช่วง 30 ปีไปแล้ว คนเราจะลดความสามารถลงไป 5 เปอร์เซ็นต์ ต่อ ทุกๆ 10 ปี (หากฝึกซ้อมเป็นปรกติตามที่ฝึกประจำ ) ดังนั้นนักวิ่ง ที่มาเริ่มฝึกเมื่อตอนสูงอายุ ถ้าจะให้เห็นผลหรือบรรลุขั้นสุดยอดในการวิ่ง ก็ต้องอดทนอย่างน้อย 5-10 ปี ด้วยเหตุนี้นักวิ่งในวัยนี้จึงควรปรับเป้าหมาย ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และในการแข่ง นักวิ่งสูงอายุก็จะได้ประโยชน์จากผู้ที่จัดแบ่งอายุ ออกเป็นช่วงต่าง ๆ ทำให้ไม่ต้องไปแข่งกับ นักวิ่งที่อายุน้อยกว่า ( ปกติหลังจาก 40 ปีแล้ว จะแบ่งช่วงอายุห่างกัน 5-10 ปี )


นักวิ่งผู้หญิง


         กายภาพของผู้หญิงแตกต่างกับผู้ชาย เช่นจะมีขนาดของปอดเล็กกว่า หัวใจก็มีขนาดเพียง 85-90 เปอร์เซ็นต์ของหัวใจผู้ชาย มีไขมันมากกว่า กระดูกและกล้ามเนื้อก็น้อยกว่า ( ร้อยละ 40 ของน้ำหนัก - ตัวผู้ชายจะเป็นกล้ามเนื้อ แต่ผู้หญิงจะมีเพียงร้อยละ 23 ) และเฉลี่ยแล้วโดยทั่ว ๆ ไป ผู้หญิงจะมีน้ำหนักน้อยกว่าผู้ชายที่มีส่วนสูงเท่ากัน มีพลังในการขับเคลื่อนร่างกายน้อยกว่า


         ดังนั้นในการวิ่งเร็วระยะสั้น ผู้ชายจึงวิ่งได้เร็วกว่า โดยธรรมชาติ แต่ในการวิ่งระยะทางยาว เช่นมาราธอน ผู้หญิง จะมีข้อดีทางร่างกายดีกว่าผู้ชาย ในหลายด้าน ซึ่งในอนาคตสถิติการวิ่งมาราธอนของโลก คงจะถูกผู้หญิงทำลายได้ไม่ยากนัก และอาจเป็นเพศที่ครองแชมป์ การวิ่งระยะยาวขนาดนี้ไปตลอด !


นักวิ่งวัยรุ่น


         นักวิ่งในวัยนี้ในใบสมัครจะระบุว่า " ประเภททั่วไป " ซึ่งปรกติแล้วก็จะเริ่มจากอายุ 18 ขึ้นไป ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าร่วมแข่งอย่างจริงจัง ในการวิ่งระยะทางยาว ควรสนับสนุนให้เด็กได้วิ่งสนับสนานตามชอบใจ เพื่อฝึกกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ จิตใจ ให้แข็งแกร่ง ดีกว่าจะมาถูกทำลายด้วย การวิ่งระยะทางยาวอย่างเอาเป็นเอาตาย ระยะทางสำหรับเด็กไม่ควรเกิน 5 กม. และควรจะเป็นการวิ่งแบบสนุก ๆ มากกว่า ควรให้เด็กเลือกที่จะวิ่งตามใจชอบของเขาเอง มิใช่วิ่งเพราะพ่อแม่ต้องการ ส่วนนักวิ่งที่อายุเกิน 12 ปีขึ้นไป ก็ควรเน้นให้วิ่งเร็วในระยะสั้นแบบสนุก ๆ ไม่จริงจังมากนัก และหากจะร่วมแข่งก็ควรไม่เกิน 10 กม. หากจะแข่งยาวกว่านี้ก็ควรชี้แจงให้เขาได้ทราบถึงข้อดี ข้อสีย และแนะนำไม่ให้เขาวิ่งอย่างเอาเป็นเอาตาย หรือไปแข่งกับใคร ควรร่วมวิ่งเพื่อหาประสบการณ์เท่านั้น


ระดับของนักวิ่ง

         นักวิ่งแข่งระดับเริ่มวิ่ง นักวิ่งแข่งระดับนี้จะขาดเวลาการฝึกซ้อม และขาดความสามารถ ที่จะพัฒนาการวิ่งให้ก้าวขึ้นสู่นักวิ่งระดับอื่น การร่วมแข่งก็น้อยครั้งมาก


         ประสบการณ์ เริ่มวิ่งออกกำลังผ่านมาแล้ว 6 เดือน พึ่งจะเริ่มเข้าร่วมแข่งครั้งแรก หรือเข้าร่วมแข่งมาบ้างแต่ไม่มาก หรือเป็นนักวิ่งที่มีประสบการณ์แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ฝึกซ้อมอย่างจริงจัง
               - ระยะทางวิ่ง 25-40 กม. ต่อ อาทิตย์
               - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ละ 5 - 6 วัน
               - วันวิ่งยาว ครั้งละ 5 -20 กม. ทุก ๆ 2- 3 อาทิตย์
               - ซ้อมวิ่งเร็ว อาทิตย์ละครั้ง หรือนาน ๆ ครั้ง
               - การวิ่งแข่ง ปีละ 1-10 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 10 กม.
               - เวลาที่ใช้ในการวิ่งแข่ง ดู ตารางที่ 1


ตารางที่ 1 นักวิ่งระดับเริ่มวิ่ง


ชาย


ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)


5 กม. 23:30 + 25:30 + 27:30 + 29:30 +


10 กม. 48:00 + 52:00 + 56:00 + 60:00 +


ครึ่งมาราธอน 1:50 + 2:10 + 2:10 + 2:20 +


หญิง


5 กม. 25:30 + 27:30 + 29:30 + 31:30 +


10 กม. 52:00 + 56:00 + 60:00 + 64:00 +


ครึ่งมาราธอน 2:00 + 2:10 + 2:20 + 2:30 +


         หมายเหตุ เวลาตามตารางที่ให้ไว้นี้เป็นเวลากว้าง ๆ สำหรับนักวิ่งที่วิ่งเพียงเพื่อให้ถึงเส้นชัย จนถึงนักวิ่งที่สามารถทำเวลาอยู่ในขั้นนักวิ่งระดับทั่วไป เช่น ในช่องอายุทั่วไป ระยะทาง 10 กม. ในช่องเวลา 48 : 00 + นาที หมายความว่า เวลาวิ่งจริง ๆ นักวิ่งระดับเริ่มวิ่งอาจจะใช้เวลาวิ่งมากว่า 48 นาที ดังนั้นเป้าหมายของนักวิ่งคนนี้คือ จะต้องพัฒนาการวิ่งของตนเองเพื่อขึ้นไปอยู่ในระดับทั่วไป โดยทำเวลาให้ดีกว่า 48 นาที


นักวิ่งแข่งระดับทั่วไป

        นักวิ่งแข่งส่วนใหญ่ ( วิ่งอยู่กลางหรือท้าย ๆ ขบวนนักวิ่งบนถนน ) อยู่ในระดับนี้ มีความสามารถวิ่งระยะทาง 10 กม. ถึงครึ่งมาราธอนได้อย่างสบาย ๆ ทั้งยังสามารถวิ่งมาราธอนได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ มากนัก นักวิ่งระดับนี้จะพัฒนาการวิ่งด้วยการสนใจฝึกความเร็ว และสามารถกำหนดเวลาเข้าเส้นชัยได้
              - ประสบการณ์ วิ่งมานาน 2 ปีแล้ว และร่วมแข่งขันเป็นประจำ
              - ระยะทางวิ่ง 40 - 90 กม. ต่อ อาทิตย์
              - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ ละ 5 -7 วัน
              - วันวิ่งยาว ครั้งละ 16 - 32 กม. อาทิตย์ เว้น อาทิตย์
              - ซ้อมวิ่งเร็ว ตอนเตรียมตัวแข่งจะซ้อมวิ่งเร็วอาทิตย์ละครั้ง หากมีประสบการณ์แล้วก็อาทิตย์ละ 2 ครั้ง
              - การวิ่งแข่ง ปีละ 5 - 12 ครั้ง ปกติก็จะวิ่งในระยะทาง 10 กม. ถึง ครึ่งมาราธอน


        เคยร่วมแข่งมาราธอนแล้วแต่ไม่เกินปีละครั้ง
             - เวลาที่ใช้ในการวิ่งแข่ง ดู ตารางที่ 2


ตารางที่ 2 นักวิ่งระดับทั่วไป


ชาย


ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม.
19 : 30 - 23 : 30 20 : 30 - 25 : 30 21 : 30 - 27 : 30 22 : 30 - 29 : 30
10 กม. 40 : 00 - 48 : 00 42 : 00 - 52 : 00 44 : 00 - 56 : 00 46 : 00 - 60 : 00
ครึ่งมาราธอน 1 : 30 - 1 : 50 1 : 35 - 2 : 00 1 : 40 - 2 : 10 1 : 45 - 2: 20


หญิง


5 กม.
21 : 30 - 25 : 30 22 : 30 - 27 : 30 24 : 30 - 29 : 30 26 : 30 - 31 : 30
10 กม. 44 : 00 - 52 : 00 46 : 00 - 56 : 00 50 : 00 - 60 : 00 54 : 00 - 64 : 00
ครึ่งมาราธอน 1 : 40 - 2 : 00 1 : 45 - 2 : 10 1 : 55 - 2 : 20 2 : 05 - 2 : 30


นักวิ่งระดับแนวหน้า


        ระดับนี้ จะเป็นระดับสูงสุดที่นักวิ่งทั้ง ระดับเริ่มวิ่ง หรือระดับทั่วไปสามารถพัฒนาความสามารถเลื่อนขึ้นมาอยู่ ในระดับนี้ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขีดจำกัดบางอย่าง เช่น ไม่มีเวลาที่จะทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อม หรือขาดความเป็นไปได้ ที่จะเป็นนักวิ่งที่ดีได้โดยธรรมชาติ ( รูปร่างเหมาะสม กล้ามเนื้อที่ใช้วิ่งเร็วและวิ่งทนสมดุลย์ ) นักวิ่งระดับนี้จะซ้อมและร่วมวิ่งแข่งอย่างจริงจัง และวิ่งแข่งได้ด ตั้งแต่ระยะทางมาราธอนหรือระยะทางต่ำกว่านี้ สมารถวิ่งแข่งได้ตำแหน่งดี ในระดับ 50 คนแรก ของการแข่งระดับชาติ และอยู่ในตำแหน่ง 1 - 5 ในการแข่งระดับท้องถิ่น
             - ประสบการณ์ วิ่งมานานกว่า 4 ปี แล้ว และเคยร่วมวิ่งแข่งไม่น้อยกว่า 2 ปี
             - ระยะทางวิ่ง 70 - 130 กม. ต่อ อาทิตย์
             - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ละ 6- 7 วัน และบางวันก็วิ่ง 2 ครั้ง
             - วันวิ่งยาว ครั้งละ 16- 32 กม. 2 อาทิตย์ ต่อ ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ต่อ 3 อาทิตย์
             - ซ้อมวิ่งเร็ว ตอนเตรียมตัวแข่งจะซ้อมวิ่งเร็วอาทิตย์ละ 1 -2 ครั้ง
             - การวิ่งแข่ง ทุกระยะทาง ปีละ 10 -20 ครั้ง และปีหนึ่งจะร่วมวิ่งมาราธอนได้
2 -3 ครั้ง
             - เวลาที่ใช้ในการวิ่งแข่ง ดูตารางที่ 3



ตารางที่ 3 นักวิ่งระดับแนวหน้า


ชาย

ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม. 16:30 -19:30 17:30-20:30 18:30-21:30 20:30-22:30
10 กม. 34:00-40:00 36:00-42:00 38:00-44:00 42:00-46:00
ครึ่งมาราธอน 1:15-1:00 1:20-1:25 1:25-1:40 1:35-1:45


หญิง


5 กม. 18:30-21:30 20:30-22:30 22:30-24:30 24:30-26:30
10 กม. 38:00-44:00 42:00-46:00 46:00-50:00 50:00-54:00
ครึ่งมาราธอน 1:25- 1:40 1:35- 1:45 1:45-1:55 1:55-2:26

นักวิ่งระดับแชมป์


       คือนักวิ่งที่มีเวลาฝึกซ้อมมาก มีความสามารถทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการวิ่งแข่ง สามารถชนะการแข่งในตำแหน่ง 1-3 ในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติก็สามารถได้ตำแหน่งกว่า 20 คนแรกโดยไม่ยาก
           - ประสบการณ์ วิ่งมานานกว่า 5 ปี ร่วมแข่งมาไม่น้อยกว่า 4 ปี
           - ระยะทางวิ่ง 100-160 กม. ต่ออาทิตย์
           - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ละ 7 วัน และวิ่งวันละ 2 เวลา หลายครั้งในอาทิตย์
           - วันวิ่งยาว ครั้งละ 16-32 กม. 2 ครั้งต่อ 3 อาทิตย์ หรือ 3 ครั้ง ต่อ 4 อาทิตย์
          - ซ้อมวิ่งเร็ว ตอนเตรียมตัวแข่งครั้งสำคัญ จะซ้อมวิ่งเร็วอาทิตย์ละ 2 -3 วัน
          - การวิ่งแข่ง ทุกระยะทาง ปีละ 10-20 ครั้ง และปีหนึ่งจะร่วมวิ่งมาราธอนได้ 2-3 ครั้ง


เวลาที่ใช้ในการแข่ง ดู ตารางที่ 4


ตารางที่ 4 นักวิ่งระดับแชมป์


ชาย


ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม. 14:30-16:30 15:30-17:30 17:00-18:30 19:00-20:30
10 กม. 30:00-34:00 32:00-36:00 35:00-38:00 39:00-42:00
ครึ่งมาราธอน 1:06- 1:15 1:10- 1:20 1:17:30 - 1:25 1:27:30- 1:35


หญิง


5 กม. 17:00-18:30 19:00-20:30 20:30-22:30 23:00-24:30
10 กม. 35:00-38:00 39:00-42:00 42:00-46:00 47:00-50:00
ครึ่งมาราธอน 1:17:30-1:25 1:27:30-1:35 1:35- 1:45 1:47:30-1:55


นักวิ่งระดับยอดนักวิ่ง


       คือนักวิ่งที่มีความสามารถทั้งทางด้านการฝึกซ้อม และความสามารถที่ได้มาโดยธรรมชาติ ซึ่งประกอบกัน ทำให้นักวิ่งระดับนี้อยู่ในระดับยอดได้ นักวิ่งระดับแชมป์บางคน ก็อยู่ในระดับยอดนี้ นักวิ่งระดับนี้มีแนวทางในการวิ่งคล้ายกับนักวิ่งระดับแชมป์ นักวิ่งชายหลายคนสามารถวิ่งมาราธอน ได้ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที สามารถวิ่งระดับนานาชาติได้ในตำแหน่ง 1 ใน 20 คนแรก ส่วนนักวิ่งผู้หญิง ก็วิ่งมาราธอนได้ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง

ตารางที่ 5 ระดับยอดนักวิ่ง


ชาย

ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม. 14:30 15:30 17:00 19:00
10 กม. 30:00 32:00 35:00 39:00
ครึ่งมาราธอน 1:06 1:10 1:17:30 1:27:30


หญิง


5 กม. 17:00 19:00 20:30 23:00
10 กม. 35:00 39:00 42:00 47:00
ครึ่งมาราธอน 1:17:30 1:27:30 1:35 1:47:30




ที่มา   ( นิตยสาร Running โดย...มงคล คธาทอง )















กติกาการแข่งขันกรีฑา

กติกาการแข่งขันทั่วไป


กติกาข้อ 1
สิ่งอำนวยการความสะดวกของสนามกรีฑา (The Athletic Facility)


           สนามที่มีผิวหน้าเป็นแบบเดียวกันและมั่นคงแข็งแรงตรงตามที่คู่มืออำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF กำหนดจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้ การแข่งขันกรีฑาประเภทประเภทลู่และประเภทลานภายใต้กติกาข้อ 12.1 a, b, c, d และการแข่งขันที่ IAAF ควบคุมโดยตรงจะต้องใช้สนามที่ผิวลู่ทำด้วยยางสังเคราะห์เท่านั้นและต้องโดยตรงจะต้องผ่านความเห็นชอบรับรองว่าเป็นชั้น 1 จาก IAAF จึงจะอนุญาตให้จัดการแข่งขันได้ เป็นข้อแนะนำว่า เมื่อสามารถใช้ลู่ยางสังเคราะห์ได้ การแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e), (f), (g), และ (h) ก็ควรใช้ลู่ยางสังเคราะห์
          ในทุกรายละเอียดของเอกสารประกอบที่รับรองความถูกต้องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งประเภทลู่และประเภทลานตามแบบแผนใต้ระบบการรับรองของ IAAF ซึ่งต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดในการแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (h)
           หมายเหตุ 1: หนังสือคู่มือสิ่งอำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF ซึ่งพิมพ์ในปี 1999 สามารถซื้อได้จากกองเลขาธิการของ IAAF ในเล่มบรรจุเนื้อหาและคำอธิบายไว้อย่างครอบคลุม ระบุถึงการวางแผนและการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของกรีฑาประเภทลู่ประลาน รวมทั้งแผนผังการวัดระยะและการทำเครื่องหมายต่าง ๆ
          หมายเหตุ 2: แผนผังมาตรฐานที่รับรองแล้วของการวัดระยะสิ่งของอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ สามารถติดต่อขอได้จาก IAAF และศึกษาได้จากเครือข่าย (Website) ของ IAAF
          หมายเหตุ 3: กติกาข้อนี้ไม่ใช่กับการแข่งขันวิ่งและการแข่งขันเดินที่อยู่ในประเภทถนนและวิ่งข้ามทุ่ง


กติกาข้อ 2


กลุ่มอายุ (Age Group)
กลุ่มอายุต่อไปนี้สามารถใช้กับการแข่งขันของ IAAF ได้


ยุวชนชายและหญิง : คือนักกรีฑาที่มีอายุ 16 หรือ 17 ปี โดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
เยาวชนชายและหญิง : คือนักกรีฑาที่มีอายุ 18 หรือ 19 ปีโดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
สูงอายุ ชาย : นักกรีฑาชายอายุ 40 ปีบริบูรณ์
สูงอายุหญิง : นักกรีฑาหญิงอายุ 35 ปีบริบูรณ์


หมายเหตุ : เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันสูงอายุ แนะนำให้ใช้หนังสือคู่มือ IAAF/WAVA ซึ่งผ่านการรับรองจากสภาของ IAAF และ WAVA


กติกาข้อ 3


การสมัคร (ENTRIES)


           1. การแข่งขันภายใต้กติกาของ IAAF จำกัดสำหรับนักกรีฑาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกติกาของ IAAF เท่านั้น
          2. ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาคนใดเข้าร่วมการแข่งขันนอกประเทศของตน นอกจากเขาจะได้รับรองสถานภาพจากสมาคมกรีฑาแห่งประเทศของตนอนุญาตให้เข้าแข่งได้ การแข่งขันระหว่างประเทศ และการรับรองสถานภาพของนักกรีฑาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับได้ นอกจากจะมีการคัดค้านเกี่ยวกับสถานภาพของเขาได้ถูกเสนอต่อ IAAF เท่านั้น


การแข่งขันพร้อมกันหลายรายการ


         3. ถ้าผู้เข้าแข่งขันสมัครเข้าแข่งขันทั้งประเภทลู่และลานหรือในประเภทลานมากกว่าหนึ่งรายการ ซึ่งจะต้องแข่งขันพร้อมกันผู้ชี้ขาดอาจยินยอมให้นักกรีฑาทำการแข่งขันรอบในเวลาหนึ่งหรือทำการประลองแต่ละครั้งในการกระโดดสูงและกระโดดค้ำ และอนุญาตให้ผู้แข่งขันทำการประลองแตกต่างไปจากลำดับที่ได้กำหนดไว้ก่อนเริ่มการแข่งขันได้ ถ้านักกรีฑาผู้นั้นไม่อยู่เพื่อทำการประลอง ถือว่าขอผ่านการประลองหนึ่งครั้งเมื่อการประลองรอบนั้น ๆ ผ่านไป


การละเลยไม่เข้าร่วมในการแข่งขัน


          4. ในการแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) , (b) และ (c) ยกเว้นถ้ามีเงื่อนไขตามที่กล่าวไว้ข้างล่าง ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันต่อไป รวมทั้งการวิ่งผลัดในกรณีที่


              (i) ได้ยืนยันครั้งสุดท้ายแล้วว่า จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้นแต่มิได้เข้าร่วมการแข่งขัน เขาจะถูกตัดชื่อออกจากการแข่งขันรายการนั้นอย่างเป็นทางการ
              (ii) นักกรีฑาผ่านรอบคัดเลือกได้เข้ารอบต่อ ๆ ไป แต่เขาละเลยที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในรอบที่มีสิทธิ์นั้น ๆ


          ใบรับรองแพทย์ ซึ่งลงนามรับรองโดยเจ้าหน้าที่แพทย์ที่แต่งตั้งหรือได้รับความเห็นชอบจาก IAAF และหรือคณะกรรมการบริหาร อาจจะเพียงพอสำหรับการยอมรับในกรณีที่ นักกรีฑาไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันหลังจากที่ได้ยืนยันแล้วหรือหลังจากที่การแข่งขันรอบก่อนหน้านั้นได้ผ่านไปแล้ว แต่สามารถที่จะแข่งขันในรายการของวันต่อไปได้


          หมายเหตุ : 1. เวลาที่กำหนดแน่นอนสำหรับการยืนยันครั้งสุดท้ายในการเข้าร่วมการแข่งขันควรพิมพ์ไว้ล่วงหน้า


          2. การละเลยที่จะเข้าการแข่งขัน รวมทั้งละเลยที่จะแข่งขันอย่างซื่อสัตย์ ด้วยความมานะอย่างสุจริตใจ


         ผู้ชี้ขาดที่รับผิดชอบจะเป็นผู้ตัดสิน และต้องบันทึกเหตุการณ์ลงในใบบันทึกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแข่งขันรายการเฉพาะบุคคลประเภทรวม


กติกาข้อ 4.


เสื้อผ้า รองเท้า และหมายเลขประจำตัวนักกรีฑา (CLOTHING, SHOES AND NUMBER BIBS)


เสื้อผ้า


            1. ในการแข่งขันกรีฑาทุกรายการ นักกรีฑาจะต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด ออกแบบอย่างเหมาะสม และสวมใส่ไม่ดูน่าเกลียดเสื้อผ้าจะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่โปร่งบางแม้เวลาเปียกน้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่สวมเสื้อผ้าซึ่งอาจขัดขวางสายตาของผู้ตัดสิน
            การแข่งขันทั้งหมดภายในกติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (e) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ การแข่งขันทั้งหมด ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e) (สโมสรชิงถ้วย) ถึง (h) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ หรือที่สโมสรกำหนดอย่างเป็นทางการ พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ และให้เกียรติใด ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันความมุ่งหมายของกติกาข้อนีรองเท้า
            2. ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าแข่งขันด้วยเท้าเปล่า สวมรองเท้าข้างเดียวหรือสองข่างก็ได้ จุดมุ่งหมายที่สวมรองเท้าเข้าแข่งขันก็เพื่อป้องกันเท้า ทำให้เท้ามั่นคง กระชับกับพื้นสนาม อย่างไรก็ตามรองเท้าดังกล่าวนี้ต้องไม่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เข้าแข่งขันได้เปรียบ จะต้องไม่มีสปริงหรือเครื่องมือใด ๆ ติดอยู่กับรองเท้า จะมีสายรัดหลังเท้าด้วยก็ได้ การแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (b) ที่แข่งขันมากกว่าหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ทีมจะต้องรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเรื่องรองเท้าที่นักกรีฑาสวมแข่งขันต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาเปลี่ยนไปใช้รองเท้าคู่อื่น ตลอดเวลาการแข่งขันนั้น นักกรีฑาที่แข่งขันประเภทรวมจะต้องรายงานว่าในแต่ละรายการ จะสวมใส่รองเท้าอะไร


จำนวนตะปูรองเท้า


          3. พื้นรองเท้าและส้น ให้มีตะปูได้ข้างละ 11 ตัว จะใช้จำนวนเท่าใดก็ได้แต่ไม่เกิน 11 ตัว


ขนาดของตะปูรองเท้า


          4. การแข่งขันในลู่ยางสังเคราะห์ ความยาวของตะปูที่ยื่นจากพื้นรองเท้าและส้นต้องไม่ยาวเกินกว่า 9 มิลลิเมตร นอกจากในการกระโดดสูงและการพุ่งแหลน ให้ยาวไม่เกิน 12 มิลลิเมตร ตะปูเหล่านี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด 4 มิลลิเมตร ความยาวของตะปูไม่เกิน 25 มิลลิเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4 มิลลิเมตร อนุญาตให้ใช้ได้ในสนามที่ลู่วิ่งไม่ได้ทำด้วยยางสังเคราะห์


พื้นรองเท้าและส้นรองเท้า


         5. พื้นรองเท้าและส้นอาจเป็นร่อง เป็นสัน เป็นลอนบางหรือมีปุ่มยื่นออกมาก็ได้ แต่ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำขึ้นมาจากวัสดุที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับพื้นรองเท้านั้น ในการกระโดสูงและกระโดดไกลพื้นรองเท้าจะมีความหนาได้ไม่เกิน 13 มิลลิเมตร และส้นรองเท้าของกระโดดสูงจะมีความหนาได้ไม่เกิน 19 มิลลิเมตร ในการแข่งขันชนิดอื่น ๆ ทั้งหมดพื้นรองเท้าและ/หรือส้นรองเท้าจะมีความหนาแตกต่างกันไป


สิ่งที่สอดใส่และเพิ่มเติมแก่รองเท้า


          6. ผู้เข้าแข่งขันไม่ควรใช้อุปกรณ์ใด ๆ อื่น อีกทั้งภายในและภายนอกรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้าเพิ่มเติมขึ้นเกินกว่าระดับสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ หรือสามารถทำให้ผู้สวมได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งแตกต่างจากการใช้รองเท้าตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ผ่านมา


หมายเลขผู้เข้าแข่งขัน


          7. ผู้เข้าแข่งขันทุก ๆ คนจะได้รับหมายเลข 2 แผ่น ซึ่งเขาจะต้องติดให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่หน้าอกและหลังในระหว่างการแข่งขันนอกจากในการแข่งขันกระโดดสูงและกระโดดค้ำ ซึ่งจะใช้หมายเลขเพียงแผ่นเดียวติดไว้ที่หน้าอกหรือหลัง หมายเลขจะต้องตรงกับหมายเลขที่ระบุในรายการการแข่งขัน ถ้าสวมชุดอุ่นร่างกายในระหว่างการแข่งขันหมายเลขดังกล่าวนั้นจะต้องติดสูงที่ชุดอบอุ่นร่างกายในทำนองเดียวกัน


          8. จะต้องติดหมายเลขให้หันหน้าออก ห้ามตัด พับ หรือปิดบังในทุกกรณีในการแข่งขันระยะไกลอาจเจาะรูเพื่อระบายอากาศได้แต่ห้ามเจาะรูบนตัวหนังสือหรือตัวเลข


          9. ถ้าใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพที่เส้นชัย คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจำเป็นต้องให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันติดหมายเลขเพิ่มอีกที่ด้านข้างกางเกงขาสั้น จะไม่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมคนใดที่ไม่ได้ติดหมายเลขเข้าร่วมการแข่งขัน


กติกาข้อ 5


การช่วยเหลือนักกรีฑา (ASSISTANCE TO ATHLESTES)


การบอกเวลาระหว่างการแข่งขัน
         
            1. เวลาระหว่างการแข่งขัน และเวลาสำหรับผู้ชนะรอบคัดเลือก ควรจะประกาศหรือแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการ ผู้ที่อยู่บริเวณสนามแข่งขันจะแจ้งเวลาดังกล่าวให้แก่นักกรีฑาในขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาดเสียก่อน
การให้ความช่วยเหลือ


            2 ข้อต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ
               (i) การติดต่อสื่อสารระหว่างนักกรีฑากับผู้ฝึกสอนของเขาที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณสถานแข่งขัน เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปโดยสะดวกและไม่เป็นการรบกวนการชมการแข่งขัน ความสำรองที่นั่งที่อยู่ใกล้สถานแข่งขันมากที่สุดไว้สำหรับผู้ฝึกสอนของนักกรีฑาแต่ละคนในทุก ๆ รายการแข่งขันประเภทลาน
               (ii) การทำกายภาพบำบัด และการตรวจรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อให้ นักกรีฑาสามารถเข้าร่วมการแข่งขันหรือแข่งขันต่อไปได้ด้วยการแต่งตั้งหรือเห็นชอบจากคณะแพทย์ และ / หรือจากผู้แทนเทคนิคที่เฉพาะเจาะจง อนุญาตทำให้ทำโดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่เป็นการถ่วงเวลาการแข่งขัน หรือหลีกเลี่ยงลำดับการประลองตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นการดูแลรักษาหรือการให้ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นใดในระหว่างแข่งขันหรือช่วงกระชั้นชิดก่อนการแข่งขันนับตั้งแต่ นักกรีฑาได้ออกจากห้องรายงานตัวจะถือเป็นการให้ความช่วยเหลือ


จากวัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ข้อต่อไปนี้ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ จึงไม่อนุญาต


               (i) การเคลื่อนที่เคียงคู่กันไปในระหว่างการแข่งขันกับผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขัน หรือกับนักวิ่งหรือนักเดินที่โดนแซงรอบไปแล้วหรือกำลังจะถูกแซงรอบ หรือโดยใช้อุปกรณ์เทคนิคใดๆ ช่วยเหลือ
               (ii) ใช้วิดีทัศน์ หรือเครื่องบันทึกเสียงหรือภาพ วิทยุ ซีดี วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์พกพา หรืออุปกรณ์ที่คล้ายในบริเวณสถานแข่งขัน นักกรีฑาคนใดให้หรือรับการช่วยเหลือภายในบริเวณสถานแข่งขันในระหว่างการแข่งขันจะถูกเตือนจากผู้ชี้ขาด ถ้าทำซ้ำอีกจะถูกตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขันรายการนั้น


การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสลม
              
               3. ควรมีถุงลมตั้งไว้ในตำแหน่งที่ใกล้กับจุดเริ่มแข่งขันประเภทกระโดดทุกรายการ รวมทั้งขว้างจักร และพุ่งแหลน เพื่อให้นักกรีฑาได้ทราบถึงทิศทางและความแรงของกระแสลม


เครื่องดื่ม/ฟองน้ำ (Drinking/ Sponging)


               4. ในการแข่งขันประเภทลู่ระยะทาง 5,000 เมตร หรือไกลกว่าคณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจะจัดน้ำ และฟองน้ำไว้ให้นักกรีฑา ถ้าสภาพของอากาศเป็นเหตุสมควรให้มีการจัดบริการเช่นนั้นได้


กติกาข้อ 6


การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน (DISQUALIFICATION)


           ถ้านักกรีฑาถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขันจากการละเมิดต่อกติกาของ IAAF จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการว่าละเมิดกติกาของ IAAF ข้อใด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ปกป้องไม่ให้นักกรีฑาคนนั้นเข้าร่วมในรายการต่อไป


           นักกรีฑาคนใดแสดงความไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือแสดงกิริยาไม่เหมาะสมจนทำให้หมดสิทธิ์จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่อไปทั้งหมด จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการถึงเหตุผลที่ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันถ้าการละเมิดนั้นถูกพิจารณาว่าร้ายแรง ผู้อำนวยการจัดการแข่งขันจะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเพื่อพิจารณาดำเนินการลงโทษทางวินัยต่อไป


กติกาข้อ 7.


การประท้วง และอุทธรณ์ (PROTESTS AND APPEALS)


           1. การประท้วงที่เกี่ยวกับสถานภาพของนักกรีฑาที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องกระทำก่อนเริ่มการแข่งขันโดยยื่นคำประท้วงต่อผู้แทนเทคนิค เมื่อผู้แทนเทคนิคพิจารณาแล้วจะส่งเรื่องต่อไปให้กรรมการอุทธรณ์ ถ้าเรื่องนั้นไม่สามารถตกลงกันได้อย่างน่าพอใจก่อนการแข่งขัน ก็ให้นักกรีฑาผู้นั้นลงได้ “ภายใต้การประท้วงแล้วให้เสนอการประท้วงไปยังสภาของ IAAF ต่อไป
          2. การประท้วงเกี่ยวกับการผลการแข่งขันหรือการดำเนินการแข่งขันจะต้องทำภายใน 30 นาที เมื่อได้มีการประกาศแข่งขันอย่างเป็นทางการแล้ว คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องรับผิดชอบสำหรับผลการแข่งขันแต่ละประเภทไว้ด้วย
          3. การประท้วงในกรณีใด ๆ ในครั้งแรกควรจะประท้วงด้วยวาจาโดยตัวนักกรีฑาเองหรือตัวแทนต่อผู้ชี้ขาดเพื่อให้การตัดสินนั้นเป็นธรรมผู้ชี้ขาดควรพิจารณาตามหลักฐานทุกอย่างที่ปรากฏ ที่เขาเห็นว่าจำเป็น รวมทั้งภาพถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งจัดทำโดยผู้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการ ผู้ชี้ขาดอาจเป็นผู้ตัดสินการประท้วงเอง หรือส่งเรื่องนั้นให้แก่กรรมการอุทธรณ์ ถ้าผู้ชี้ขาดตัดสินเองจะต้องมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อกรรมการอุทธรณ์ด้วย
          4. ในการแข่งขันประเภทลาน ถ้านักกรีฑาทำการประท้วงด้วยวาจาทันทีต่อการตัดสินการประลองฟาล์ว หัวหน้าผู้ตัดสินของการแข่งขันอาจสั่งด้วยความระมัดระวังและความรอบคอบของเขาเองให้มีการวัดระยะผลการประลอง และบันทึกผลที่ได้รับไว้เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้


          ในการแข่งขันประเภทลู่ ผู้ชี้ขาดลู่อาจใช้ดุลยพินิจของตนเองอนุญาตให้นักกรีฑาเข้าแข่งขันได้ แม้ในขณะที่มีการประท้วงหากมีนักกรีฑาประท้วงด้วยวาจาทันที หลังจากที่ได้รับทราบว่าออกตัวไม่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง
          
           อย่างไรก็ตาม ไม่อาจยอมรับการประท้วงได้ หากการปล่อยตัวไม่ถูกต้องนั้น ถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์การปล่อยตัวอย่างไม่ถูกต้อง


          5. การประท้วงต่อคณะกรรมการรับอุทธรณ์ต้องกระทำภายใน 30 นาที หลังจากผู้ชี้ขาดได้ตัดสินและประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้ว


         การประท้วงต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในฐานะตัวแทนของนักกรีฑาพร้อมเงินมัดจำ 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่า เงินจำนวนนี้จะถูกยึดถ้าการประท้วงนั้นตกไป


         6. คณะกรรมการรับอุทธรณ์จะต้องปรึกษากับบุคคลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์สงสัยจะต้องพิจารณาหลักฐานวีดิทัศน์ต่าง ๆ ที่หาได้ ถ้าหลักฐานเช่นนั้นเป็นข้อสรุปไม่ได้ จะต้องคงคำตัดสินของผู้ชี้ขาดไม่ได้ตามเดิม


กติกาข้อที่ 8.


การแข่งขันรวมกัน (MIXED COMPETITION)


การแข่งขันทุกรายการที่เสร็จสิ้นภายในสนามกรีฑา จะไม่อนุญาตให้เพศชายกับเพศหญิงแข่งรวมกัน


กติกาข้อ 9.




การวัด (MEASUREMENTS)


           สำหรับการแข่งขันประเภทลู่และลาน ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (c) การวัดทุกอย่างต้องวัดด้วยสายวัดที่ทำด้วยเหล็กกล้าหรือไม้วัดหรือเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแข่งขันระดับอื่น ๆ อาจใช้สายวัดที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสได้ ความเที่ยงตรงของเครื่องมือในการวัดใด ๆ ที่นำมาใช้ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานทางการชั่งและการวัด


กติกาข้อ 10.


สถิติที่รับรอง (VALIDTY AND PERFORMANCES)


           ไม่ถือว่าสถิติที่นักกรีฑาทำได้จะได้รับการรับรอง นอกจากการทำสถิตินั้นเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันที่คณะกรรมการได้จัดขึ้นภายใต้กติกาของ IAAF


กติกาข้อ 11.


การบันทึกวีดิทัศน์ (VIDEO RECORDING)


ในการแข่งขันที่จัดขึ้นภายใต้กติกาเป็นข้อเสนอแนะว่าให้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการในการแข่งขันกรีฑาทุกประเภทถ้าสามารถทำได้ ซึ่งความถูกต้องเที่ยงตรงของการแข่งขันและการละเมิดกติกาต่าง ๆ จะถูกบันทึกไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

กติกาข้อ 12.

การคิดคะแนน (SCORING)


         ในการแข่งขันซึ่งผลการแข่งขันนั้นกำหนดโดยการให้คะแนนวิธีการให้คะแนนควรจะตกลงกันโดยประเทศผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดก่อนเริ่มการแข่งขัน



ความหมายของกรีฑา

กีฬา-กรีฑา



          ในภาษาไทยมีคำจำนวนมากซึ่งรับมาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต การรับคำมาใช้อาจจะรับมาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งการเขียน การอ่าน และความหมายตามภาษาเดิม เช่น กรินี กริณี หรืออาจจะดัดแปลงเฉพาะการเขียนหรือการอ่านให้เหมาะสมกับอักขรวิธีไทยแต่ความหมายยังคงเดิม เช่น บิตา เป็น บิดา ปฤถวี ปฐวี เป็น ปถวี, ปฐพี หรือดัดแปลงการเขียน และความหมาย เช่น อฎฐิ (กระดูก) เป็น อัฐิ (กระดูกของคนที่เผาแล้ว) บางคำก็นิยมใช้รูปของภาษาใดภาษาหนึ่งมากกว่า เช่น คำ "อัฐิ" ใช้ตามรูปภาษาบาลี คำ "กรรม" ใช้ตามรูปภาษาสันสกฤต

          นอกจากการรับมาใช้ในลักษณะดัดแปลงดังกล่าวแล้ว ยังมีการนำคำบางคำซึ่งในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกันและไทยรับเอาคำจากทั้ง ๒ ภาษามาใช้ แต่แยกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น คำ "กีฬา" และ "กรีฑา"

           คำ "กีฬา" (บาลี) และ "กรีฑา" (สันสกฤต) มีความหมายเหมือนกันคือ "การเล่น, การเล่นสนุก, เล่น" แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า


           กีฬา น. กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินเพื่อเป็นการบำรุงแรงหรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต. (ป.). (ดู กรีฑา). (หน้า ๑๐๑)

          กรีฑา น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นแผนกลู่และแผนกลาน; การเล่นสนุก เช่น ... (หน้า ๕๔)
จะเห็นได้ว่าคำทั้ง ๒ นี้ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงกว่าความหมายในภาษาเดิม
ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ ได้อธิบายความหมายของ "กีฬา" ไว้ดังนี้


         "ในวงการพลศึกษา ได้นิยมใช้คำทั้งสองนี้ไปในลักษณะที่มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือคำว่า กีฬา นั้น หมายความถึงกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุก เพื่อเป็นการบำรุงแรง เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจ เช่น การเล่นฟุตบอล รักบี้ บาสเกตบอล บิลเลียด เทนนิส กอล์ฟ หมากรุก ไพ่ การล่าสัตว์ ว่ายน้ำ ปีนเขา มอญซ่อนผ้า ตีคลี กรีฑา ฯลฯ แต่ละอย่างนับเป็นกีฬา"

         ส่วนคำ "กรีฑา" ได้มีคำอธิบายไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ ไว้ดังนี้

         "กรีฑา เป็นกิจกรรมทางพลศึกษาประเภทหนึ่ง จัดรวมอยู่ใน "กีฬา" (sports) กล่าวคือ กรีฑาเป็นประเภทหนึ่งของบรรดากีฬาทั้งหลาย เช่นเดียวกับฟุตบอลหรือรักบี้เป็นประเภทหนึ่งของกีฬาเช่นกัน"

         "กรีฑา แบ่งได้เป็น ๒ แผนก แผนกหนึ่งเรียกว่า แผนกลู่ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า track หมายความว่าการแข่งขันในแผนกนี้ต้องมีทางวิ่งหรือแนวทางวิ่ง ... กรีฑาแผนกลู่ได้แก่ การวิ่งระยะ ๕๐ เมตร ๑๐๐ เมตร ... อีกแผนกหนึ่งเรียกว่า แผนกลาน ภาษาอังกฤษใช้ว่า field หมายความว่า ในการแข่งขันแผนกนี้ต้องมีสนาม หรือที่ว่าง หรือลาน เป็นที่สำหรับทำการแข่งขัน กรีฑาแผนกลานได้แก่ การขว้างจักร พุ่งแหลน ทุ่มลูกน้ำหนัก กระโดดสูง..."

         การยืมคำในภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งมีอยู่ทุกชาติ และไม่จำเป็นว่าเมื่อยืมมาแล้วจะต้องรักษารูป เสียง และความหมายตามเดิมทุกประการ มิฉะนั้นภาษาก็จะไม่มีการพัฒนาและเจริญเติบโต ซึ่งทำให้ภาษานั้นจะต้องตายไปในที่สุด.


ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๗, กรกฎาคม ๒๕๓๒



ประเภทของกรีฑา

กรีฑาประเภทลู่ มีดังต่อไปนี้

          1. การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในทางวิ่งหรือลู่วิ่งที่เรียบ ซึ่งมีระยะทางไม่เกิน 400 เมตร
นับจากจุดเริ่มต้น นักกีฬาแต่ละคนจะต้องวิ่ง 100 เมตร 200 เมตร 400 เมตร ซึ่งมีท่ามาตรฐาน ที่นิยมกันอยู่ 3 แบบ ดังต่อไปนี้


               -ท่าอีลองเกตเหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างสูงโปร่งเมื่อนักกีฬาเข้านั่งคุกเข่า
ประจำที่เรียบร้อยแล้วเข่าของเท้าหลังที่จรดพื้นจะอยู่ในระดับเดียวกับส้นเท้าหน้าปลายเท้าหน้าอยู่ห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 13 นิ้ว ปลายเท้าหลังอยู่ห่างจากเส้นประมาณ 41 นิ้ว


               -ท่ามีเดียมเหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างสันทัดปานกลางเมื่อนักกีฬา
นั่งคุกเข่าประจำที่เข่าของเท้าหลังที่วางจรดพื้นจะอยู่ในระดับเดียวกับปลายเท้าหน้าปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 15 นิ้ว ปลายเท้าหลังห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 34 นิ้ว


              -ท่าบันซ์เหมาะกับนักกรีฑารูปร่างเตี้ยเมื่อนักกีฬาเข้านั่งประจำที่ปลายเท้า
หลังจรดพื้นห่างจากเส้นเท้าหน้าประมาณ 8 นิ้วและปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ19 นิ้วปลายเท้าหลังห่างเส้น เริ่มประมาณ 29 นิ้ว


          2.การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การแข่งขันวิ่งในระยะทาง 800 เมตร และ1,500 เมตร ซึ่งกำลังได้รับความนิยมกันแพร่หลายอย่างมาก ทั้งระดับนานาชาติและในระดับโลก เป็นการแข่งขันที่รวมความพร้อมของร่างกายทั้งหมด คือ กำลัง ความเร็ว ความอดทนอย่างต่อเนื่อง
            นอกจากนี้ยังรวมถึงทักษะการฝึกด้านจังหวะการก้าวการแกว่งแขนที่มีวามสัมพันธ์กันโดยต่อเนื่อง โดยให้เกิดความกลมกลืนและมีประสิทธิภาพในการแข่งขันอย่างสูงสุด


          3.การวิ่งระยะไกล หมายถึง การแข่งขันวิ่งระยะทางตั้งแต่ 1,500 เมตรขึ้นไป คุณสมบัติของนักกีฬาวิ่งระยะไกล คือ มีรูปร่างค่อนข้างสูง มีน้ำหนักปานกลาง กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและมีจังหวะในการวิ่งที่ดีดังนั้นการฝึกหัดโดยทั่วไปก็เพื่อจะปรับปรุงในเรื่องจังหวะการก้าวขา และการแกว่งแขนที่จะใช้กำลังให้น้อยที่


          4.การวิ่งผลัด หมายถึง การแข่งขันกรีฑาประเภททีม ซึ่งต้องประกอบด้วยนักกีฬาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลงทำหน้าที่วิ่งในแต่ละช่วงของระยะทางตามที่ตนได้รับมอบหมาย หรือทำการตกลงไว้ภายในทีมตามปกติการแข่งขันกรีฑาประเภทวิ่งผลัดในระดับนานาชาติที่เป็นทางการ จะประกอบด้วยการวิ่งผลัดประเภท 4x100 เมตร ชาย-หญิง และ 4X400 เมตร ชาย-หญิง ส่วนระยะทางในการแข่งขันและจำนวนผู้ร่วมแข่งขัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมตามสภาพเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน อีกทั้งยังอาจเป็นการฝึกทักษะเพื่อเชื่อมโยงไปถึงการวิ่งผลัดระดับมาตราฐานต่อไปได้ด้วย


           5.การวิ่งข้ามเครื่องกีดขวางหรือวิ่งวิบาก
              -ระยะทางมาตราฐาน คือ 2,000 เมตรและ 3,000 เมตร
              -ในการแข่งขันประเภท 3,000 เมตร จะมีรั้ว 28 รั้ว ให้กระโดดข้าม และมีแอ่งน้ำให้กระโดด ข้าม 7 ครั้ง ส่วนการแข่งขันประเภท 2,000 เมตร จะมีรั้วกระโดดข้าม 18 รั้วและกระโดดข้ามแอ่งน้ำ 5 ครั้ง
              -ในการวิ่งข้ามเครื่องกีดขวาง 3,000 เมตร จะมีรั้วกระโดดอยู่ 5 รั้ว /รอบ และแอ่งน้ำจะอยู่ในตำแหน่งที่จะกระโดดครั้งที่ 4 ในแต่ละรอบในระยะ 2,000 เมตรนั้น หลุมน้ำจะอยู่ในตำแหน่งที่จะกระโดดครั้งที่ 2 ในรอบแรกและรอบอื่นๆจะอยู่ตำแหน่งที่จะกระโดดครั้งที่ 4 ฯลฯ


กรีฑาประเภทลาน มีดังต่อไปนี้

          1.กระโดดไกล คือ การสปริงเท้าจากพื้นไปในอากาศ ผู้ที่สามารถเล่นกีฬาชนิดนี้ได้ดี ควรมีสมบัติ ดังนี้


              -มีพื้นฐานการวิ่งที่เร็ว
              -ต้องมีการสปริงที่ข้อเท้าดีสมบูรณ์และแข็งแรง
              -น้ำหนักของร่างกายน้อย
              -มีการประสานกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาทดี


          2.กระโดดสูง เป็นกีฬาที่มีลักษณะรูปแบบการเคลื่อนไหวในการกระโดดมากที่สุดจุดมุ่งหมายของการวิ่งกระโดดสูงหรือการกระโดดสูงก็คือ การที่ผู้กระโดดวิ่งมาแล้วสามารถกระโดดขึ้นและลอยตัวข้ามไม้ที่พาดไว้โดยไม่ทำให้หล่น โดยจะต้องมีคุณสมบัติโดยทั่วไป ดังนี้


              -ควรมีรูปร่างสูง น้ำหนักตัวน้อย มีสปริงข้อเท้าดี
              -กล้ามเนื้อขามีความแข็งแรง วิ่งเร็ว
              -มีร่างกายอ่อนตัวดี และมีความเข้าใจในเทคนิคและทักษะการฝึกได้ดี


          3.ทุ่มน้ำหนัก เป็นกีฬาที่ต้องอาศัยโครงสร้างของร่างกายที่สูงใหญ่ แข็งแรง มีกำลัง ความเร็วความคล่องตัวตลอดจนความสัมพันธ์ในการประสานงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องทุ่มลูกน้ำหนักที่มีน้ำหนักเท่าๆกันภายในพื้นที่วงกลมที่ราบเรียบตามที่กติกากำหนดไว้โดยทุ่มออกไปข้างหน้า ผู้ที่ทุ่มได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะกีฬาประเภทนี้ควรมีคุณสมบัติดังนี้
              -ต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ น้ำหนักตัวมาก(ไม่ใช่อ้วน)
              -แขนขามีกำลังสามารถวิ่งและกระโดดได้คล่องแคล่วว่องไว


          4.ขว้างจักร ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องขว้างจักรออกจากพื้นที่ภายในวงกลมให้จักรไปตามทิศทางและกติกาที่กำหนดไว้ ผู้ที่ขวางได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะกีฬาประเภทนี้เหมาะกับผู้มีช่วงแขนยาวซึ่งช่วยให้เกิดการได้เปรียบขณะหมุนตัวเหวี่ยงจักร นักขว้างจักรควรมีคุณสมบัติดังนี้
             -มีร่างกายแข็งแรง
             -รูปร่างใหญ่ ล่ำสัน นิ้วมือ แขน และไหล่กว้าง มีช่วงแขนยาว
             -มีความรวดเร็ว ว่องไว ประสางและทักษะการเคลื่อนไหวดี


          5.พุ่งแหลน ผู้เข้าแข็งขันแต่ละคนจะต้องพุ่งแหลนที่มีน้ำหนักเท่าๆกันขณะที่พุ่งแหลนต้องเคลื่อนที่ไปบนทางวิ่งและพุ่งแหลนออกไปตามกติกาที่กำหนดไว้ โดยพุ่งไปข้างหน้า ผู้พุ่งได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะนักกรีฑาประเภทนี้จึงต้องอาศัยกำลังและความเร็ว เพื่อพุ่งแหลนออกไปให้ได้ระยะทางไกลที่สุด คุณสมบัติโดยทั่วไปของนักพุ่งแหลนมีดังนี้
           - มีรูปร่างสูงใหญ่
           - วิ่งและกระโดดได้ดี
           - แขนยาว นิ้วมือยาว มีกำลังดึงและฟาดแขนได้รวดเร็วและแรง
           - ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและระบบประสาทดี