13 ธันวาคม 2552

สนามกรีฑา



         สนามกรีฑา 400 เมตร คือ สนามที่มีทางวิ่งเป็นวงรอบประกอบด้วยทางวิ่งที่เป็นทางตรง และทางโค้ง ถ้าวิ่งชิดขอบในสุดโดยห่างจาก


        ขอบใน 30 เซนติเมตร (ขอบในทำด้วยคอนกรีตหรือโลหะ) หรือ 20 เซนติเมตร (ขอบในทำด้วยปูนขาวหรือทาด้วยสี) เมื่อวิ่งครบ 1 รอบ


        จะได้ระยะทาง 400 เมตร พอดี

สิ่งควรทราบ


ลู่วิ่ง คือ ทางวิ่งทั้งหมด


ช่องวิ่ง คือ อาณาเขตที่แบ่งย่อยจากลู่วิ่ง เป็นช่องวิ่งที่ 1 ช่องวิ่งท ี่2....ช่องวิ่งที่ 8 มีความกว้างช่องวิ่งละ 1.22 เมตร


การวัดความกว้างวัดจากขอบนอกถึงขอบในเส้นของช่องวิ่งกว้าง 5 เซนติเมตร


รัศมีทางวิ่ง คือ รัศมีที่วัดจากจุดศูนย์กลางไปถึงทางวิ่งของช่องวิ่งนั้นๆ


รัศมีขอบใน คือ รัศมีที่วัดจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบในของช่องวิ่งนั้นๆ



ภาพที่ 1 : รัศมีทางวิ่ง รัศมีขอบใน


R1 = รัศมีขอบในช่องวิ่งที่ 1 (ขอบในทำด้วยคอนกรีต หรือโลหะ)


R2 = รัศมีขอบในช่องวิ่งที่ 2


R3 = รัศมีทางวิ่งของช่องวิ่งที่ 1 ห่างขอบใน 30 เซนติเมตร


R4 = รัศมีทางวิ่งของช่องวิ่งที่ 2 ห่างขอบใน 20 เซนติเมตร







ประเภทและระดับของนักวิ่ง

ประเภทและระดับของนักวิ่ง



         ระดับของนักวิ่งที่ได้จำแนกมานี้ ทำขึ้นเพื่อช่วยให้ท่านสำรวจตัวเอง ว่าท่านเป็นนักวิ่งระดับใด เพื่อนำมาวางแผนการฝึก ให้สอดคล้องทั้งเป้าหมาย ระยะทางวิ่งในอาทิตย์ ระยะทางที่จะวิ่งในวันยาว การฝึกความเร็วตารางการฝึก และวางแผนการแข่งต่าง ๆ ตลอดปี ขอให้ท่านใช้เป็นเพียงแนวทาง อย่าได้ยึดถือเป็นสูตรสำเร็จ เช่นหากท่านเป็นนักวิ่ง ประเภทวัยรุ่นที่วิ่งเร็วอยู่แล้วโดยธรมชาติ ก็ลดระยะทางซ้อมลง แต่เพิ่มความเร็วมากขึ้น


นักวิ่งสูงอายุ


         ช่วงอายุ 26-30 ปี นับได้ว่าเป็นช่วง " สุดยอด " ของกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม ที่ต้องให้ใช้ความทนทานเป็นหลัก เช่นการวิ่ง หลังจากช่วง 30 ปีไปแล้ว คนเราจะลดความสามารถลงไป 5 เปอร์เซ็นต์ ต่อ ทุกๆ 10 ปี (หากฝึกซ้อมเป็นปรกติตามที่ฝึกประจำ ) ดังนั้นนักวิ่ง ที่มาเริ่มฝึกเมื่อตอนสูงอายุ ถ้าจะให้เห็นผลหรือบรรลุขั้นสุดยอดในการวิ่ง ก็ต้องอดทนอย่างน้อย 5-10 ปี ด้วยเหตุนี้นักวิ่งในวัยนี้จึงควรปรับเป้าหมาย ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และในการแข่ง นักวิ่งสูงอายุก็จะได้ประโยชน์จากผู้ที่จัดแบ่งอายุ ออกเป็นช่วงต่าง ๆ ทำให้ไม่ต้องไปแข่งกับ นักวิ่งที่อายุน้อยกว่า ( ปกติหลังจาก 40 ปีแล้ว จะแบ่งช่วงอายุห่างกัน 5-10 ปี )


นักวิ่งผู้หญิง


         กายภาพของผู้หญิงแตกต่างกับผู้ชาย เช่นจะมีขนาดของปอดเล็กกว่า หัวใจก็มีขนาดเพียง 85-90 เปอร์เซ็นต์ของหัวใจผู้ชาย มีไขมันมากกว่า กระดูกและกล้ามเนื้อก็น้อยกว่า ( ร้อยละ 40 ของน้ำหนัก - ตัวผู้ชายจะเป็นกล้ามเนื้อ แต่ผู้หญิงจะมีเพียงร้อยละ 23 ) และเฉลี่ยแล้วโดยทั่ว ๆ ไป ผู้หญิงจะมีน้ำหนักน้อยกว่าผู้ชายที่มีส่วนสูงเท่ากัน มีพลังในการขับเคลื่อนร่างกายน้อยกว่า


         ดังนั้นในการวิ่งเร็วระยะสั้น ผู้ชายจึงวิ่งได้เร็วกว่า โดยธรรมชาติ แต่ในการวิ่งระยะทางยาว เช่นมาราธอน ผู้หญิง จะมีข้อดีทางร่างกายดีกว่าผู้ชาย ในหลายด้าน ซึ่งในอนาคตสถิติการวิ่งมาราธอนของโลก คงจะถูกผู้หญิงทำลายได้ไม่ยากนัก และอาจเป็นเพศที่ครองแชมป์ การวิ่งระยะยาวขนาดนี้ไปตลอด !


นักวิ่งวัยรุ่น


         นักวิ่งในวัยนี้ในใบสมัครจะระบุว่า " ประเภททั่วไป " ซึ่งปรกติแล้วก็จะเริ่มจากอายุ 18 ขึ้นไป ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าร่วมแข่งอย่างจริงจัง ในการวิ่งระยะทางยาว ควรสนับสนุนให้เด็กได้วิ่งสนับสนานตามชอบใจ เพื่อฝึกกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ จิตใจ ให้แข็งแกร่ง ดีกว่าจะมาถูกทำลายด้วย การวิ่งระยะทางยาวอย่างเอาเป็นเอาตาย ระยะทางสำหรับเด็กไม่ควรเกิน 5 กม. และควรจะเป็นการวิ่งแบบสนุก ๆ มากกว่า ควรให้เด็กเลือกที่จะวิ่งตามใจชอบของเขาเอง มิใช่วิ่งเพราะพ่อแม่ต้องการ ส่วนนักวิ่งที่อายุเกิน 12 ปีขึ้นไป ก็ควรเน้นให้วิ่งเร็วในระยะสั้นแบบสนุก ๆ ไม่จริงจังมากนัก และหากจะร่วมแข่งก็ควรไม่เกิน 10 กม. หากจะแข่งยาวกว่านี้ก็ควรชี้แจงให้เขาได้ทราบถึงข้อดี ข้อสีย และแนะนำไม่ให้เขาวิ่งอย่างเอาเป็นเอาตาย หรือไปแข่งกับใคร ควรร่วมวิ่งเพื่อหาประสบการณ์เท่านั้น


ระดับของนักวิ่ง

         นักวิ่งแข่งระดับเริ่มวิ่ง นักวิ่งแข่งระดับนี้จะขาดเวลาการฝึกซ้อม และขาดความสามารถ ที่จะพัฒนาการวิ่งให้ก้าวขึ้นสู่นักวิ่งระดับอื่น การร่วมแข่งก็น้อยครั้งมาก


         ประสบการณ์ เริ่มวิ่งออกกำลังผ่านมาแล้ว 6 เดือน พึ่งจะเริ่มเข้าร่วมแข่งครั้งแรก หรือเข้าร่วมแข่งมาบ้างแต่ไม่มาก หรือเป็นนักวิ่งที่มีประสบการณ์แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ฝึกซ้อมอย่างจริงจัง
               - ระยะทางวิ่ง 25-40 กม. ต่อ อาทิตย์
               - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ละ 5 - 6 วัน
               - วันวิ่งยาว ครั้งละ 5 -20 กม. ทุก ๆ 2- 3 อาทิตย์
               - ซ้อมวิ่งเร็ว อาทิตย์ละครั้ง หรือนาน ๆ ครั้ง
               - การวิ่งแข่ง ปีละ 1-10 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 10 กม.
               - เวลาที่ใช้ในการวิ่งแข่ง ดู ตารางที่ 1


ตารางที่ 1 นักวิ่งระดับเริ่มวิ่ง


ชาย


ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)


5 กม. 23:30 + 25:30 + 27:30 + 29:30 +


10 กม. 48:00 + 52:00 + 56:00 + 60:00 +


ครึ่งมาราธอน 1:50 + 2:10 + 2:10 + 2:20 +


หญิง


5 กม. 25:30 + 27:30 + 29:30 + 31:30 +


10 กม. 52:00 + 56:00 + 60:00 + 64:00 +


ครึ่งมาราธอน 2:00 + 2:10 + 2:20 + 2:30 +


         หมายเหตุ เวลาตามตารางที่ให้ไว้นี้เป็นเวลากว้าง ๆ สำหรับนักวิ่งที่วิ่งเพียงเพื่อให้ถึงเส้นชัย จนถึงนักวิ่งที่สามารถทำเวลาอยู่ในขั้นนักวิ่งระดับทั่วไป เช่น ในช่องอายุทั่วไป ระยะทาง 10 กม. ในช่องเวลา 48 : 00 + นาที หมายความว่า เวลาวิ่งจริง ๆ นักวิ่งระดับเริ่มวิ่งอาจจะใช้เวลาวิ่งมากว่า 48 นาที ดังนั้นเป้าหมายของนักวิ่งคนนี้คือ จะต้องพัฒนาการวิ่งของตนเองเพื่อขึ้นไปอยู่ในระดับทั่วไป โดยทำเวลาให้ดีกว่า 48 นาที


นักวิ่งแข่งระดับทั่วไป

        นักวิ่งแข่งส่วนใหญ่ ( วิ่งอยู่กลางหรือท้าย ๆ ขบวนนักวิ่งบนถนน ) อยู่ในระดับนี้ มีความสามารถวิ่งระยะทาง 10 กม. ถึงครึ่งมาราธอนได้อย่างสบาย ๆ ทั้งยังสามารถวิ่งมาราธอนได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ มากนัก นักวิ่งระดับนี้จะพัฒนาการวิ่งด้วยการสนใจฝึกความเร็ว และสามารถกำหนดเวลาเข้าเส้นชัยได้
              - ประสบการณ์ วิ่งมานาน 2 ปีแล้ว และร่วมแข่งขันเป็นประจำ
              - ระยะทางวิ่ง 40 - 90 กม. ต่อ อาทิตย์
              - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ ละ 5 -7 วัน
              - วันวิ่งยาว ครั้งละ 16 - 32 กม. อาทิตย์ เว้น อาทิตย์
              - ซ้อมวิ่งเร็ว ตอนเตรียมตัวแข่งจะซ้อมวิ่งเร็วอาทิตย์ละครั้ง หากมีประสบการณ์แล้วก็อาทิตย์ละ 2 ครั้ง
              - การวิ่งแข่ง ปีละ 5 - 12 ครั้ง ปกติก็จะวิ่งในระยะทาง 10 กม. ถึง ครึ่งมาราธอน


        เคยร่วมแข่งมาราธอนแล้วแต่ไม่เกินปีละครั้ง
             - เวลาที่ใช้ในการวิ่งแข่ง ดู ตารางที่ 2


ตารางที่ 2 นักวิ่งระดับทั่วไป


ชาย


ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม.
19 : 30 - 23 : 30 20 : 30 - 25 : 30 21 : 30 - 27 : 30 22 : 30 - 29 : 30
10 กม. 40 : 00 - 48 : 00 42 : 00 - 52 : 00 44 : 00 - 56 : 00 46 : 00 - 60 : 00
ครึ่งมาราธอน 1 : 30 - 1 : 50 1 : 35 - 2 : 00 1 : 40 - 2 : 10 1 : 45 - 2: 20


หญิง


5 กม.
21 : 30 - 25 : 30 22 : 30 - 27 : 30 24 : 30 - 29 : 30 26 : 30 - 31 : 30
10 กม. 44 : 00 - 52 : 00 46 : 00 - 56 : 00 50 : 00 - 60 : 00 54 : 00 - 64 : 00
ครึ่งมาราธอน 1 : 40 - 2 : 00 1 : 45 - 2 : 10 1 : 55 - 2 : 20 2 : 05 - 2 : 30


นักวิ่งระดับแนวหน้า


        ระดับนี้ จะเป็นระดับสูงสุดที่นักวิ่งทั้ง ระดับเริ่มวิ่ง หรือระดับทั่วไปสามารถพัฒนาความสามารถเลื่อนขึ้นมาอยู่ ในระดับนี้ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะขีดจำกัดบางอย่าง เช่น ไม่มีเวลาที่จะทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อม หรือขาดความเป็นไปได้ ที่จะเป็นนักวิ่งที่ดีได้โดยธรรมชาติ ( รูปร่างเหมาะสม กล้ามเนื้อที่ใช้วิ่งเร็วและวิ่งทนสมดุลย์ ) นักวิ่งระดับนี้จะซ้อมและร่วมวิ่งแข่งอย่างจริงจัง และวิ่งแข่งได้ด ตั้งแต่ระยะทางมาราธอนหรือระยะทางต่ำกว่านี้ สมารถวิ่งแข่งได้ตำแหน่งดี ในระดับ 50 คนแรก ของการแข่งระดับชาติ และอยู่ในตำแหน่ง 1 - 5 ในการแข่งระดับท้องถิ่น
             - ประสบการณ์ วิ่งมานานกว่า 4 ปี แล้ว และเคยร่วมวิ่งแข่งไม่น้อยกว่า 2 ปี
             - ระยะทางวิ่ง 70 - 130 กม. ต่อ อาทิตย์
             - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ละ 6- 7 วัน และบางวันก็วิ่ง 2 ครั้ง
             - วันวิ่งยาว ครั้งละ 16- 32 กม. 2 อาทิตย์ ต่อ ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ต่อ 3 อาทิตย์
             - ซ้อมวิ่งเร็ว ตอนเตรียมตัวแข่งจะซ้อมวิ่งเร็วอาทิตย์ละ 1 -2 ครั้ง
             - การวิ่งแข่ง ทุกระยะทาง ปีละ 10 -20 ครั้ง และปีหนึ่งจะร่วมวิ่งมาราธอนได้
2 -3 ครั้ง
             - เวลาที่ใช้ในการวิ่งแข่ง ดูตารางที่ 3



ตารางที่ 3 นักวิ่งระดับแนวหน้า


ชาย

ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม. 16:30 -19:30 17:30-20:30 18:30-21:30 20:30-22:30
10 กม. 34:00-40:00 36:00-42:00 38:00-44:00 42:00-46:00
ครึ่งมาราธอน 1:15-1:00 1:20-1:25 1:25-1:40 1:35-1:45


หญิง


5 กม. 18:30-21:30 20:30-22:30 22:30-24:30 24:30-26:30
10 กม. 38:00-44:00 42:00-46:00 46:00-50:00 50:00-54:00
ครึ่งมาราธอน 1:25- 1:40 1:35- 1:45 1:45-1:55 1:55-2:26

นักวิ่งระดับแชมป์


       คือนักวิ่งที่มีเวลาฝึกซ้อมมาก มีความสามารถทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในการวิ่งแข่ง สามารถชนะการแข่งในตำแหน่ง 1-3 ในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติก็สามารถได้ตำแหน่งกว่า 20 คนแรกโดยไม่ยาก
           - ประสบการณ์ วิ่งมานานกว่า 5 ปี ร่วมแข่งมาไม่น้อยกว่า 4 ปี
           - ระยะทางวิ่ง 100-160 กม. ต่ออาทิตย์
           - ความบ่อยในการวิ่ง อาทิตย์ละ 7 วัน และวิ่งวันละ 2 เวลา หลายครั้งในอาทิตย์
           - วันวิ่งยาว ครั้งละ 16-32 กม. 2 ครั้งต่อ 3 อาทิตย์ หรือ 3 ครั้ง ต่อ 4 อาทิตย์
          - ซ้อมวิ่งเร็ว ตอนเตรียมตัวแข่งครั้งสำคัญ จะซ้อมวิ่งเร็วอาทิตย์ละ 2 -3 วัน
          - การวิ่งแข่ง ทุกระยะทาง ปีละ 10-20 ครั้ง และปีหนึ่งจะร่วมวิ่งมาราธอนได้ 2-3 ครั้ง


เวลาที่ใช้ในการแข่ง ดู ตารางที่ 4


ตารางที่ 4 นักวิ่งระดับแชมป์


ชาย


ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม. 14:30-16:30 15:30-17:30 17:00-18:30 19:00-20:30
10 กม. 30:00-34:00 32:00-36:00 35:00-38:00 39:00-42:00
ครึ่งมาราธอน 1:06- 1:15 1:10- 1:20 1:17:30 - 1:25 1:27:30- 1:35


หญิง


5 กม. 17:00-18:30 19:00-20:30 20:30-22:30 23:00-24:30
10 กม. 35:00-38:00 39:00-42:00 42:00-46:00 47:00-50:00
ครึ่งมาราธอน 1:17:30-1:25 1:27:30-1:35 1:35- 1:45 1:47:30-1:55


นักวิ่งระดับยอดนักวิ่ง


       คือนักวิ่งที่มีความสามารถทั้งทางด้านการฝึกซ้อม และความสามารถที่ได้มาโดยธรรมชาติ ซึ่งประกอบกัน ทำให้นักวิ่งระดับนี้อยู่ในระดับยอดได้ นักวิ่งระดับแชมป์บางคน ก็อยู่ในระดับยอดนี้ นักวิ่งระดับนี้มีแนวทางในการวิ่งคล้ายกับนักวิ่งระดับแชมป์ นักวิ่งชายหลายคนสามารถวิ่งมาราธอน ได้ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที สามารถวิ่งระดับนานาชาติได้ในตำแหน่ง 1 ใน 20 คนแรก ส่วนนักวิ่งผู้หญิง ก็วิ่งมาราธอนได้ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง

ตารางที่ 5 ระดับยอดนักวิ่ง


ชาย

ระยะทาง ทั่วไป ( 40-49 ) ( 50-59) (60-69)
5 กม. 14:30 15:30 17:00 19:00
10 กม. 30:00 32:00 35:00 39:00
ครึ่งมาราธอน 1:06 1:10 1:17:30 1:27:30


หญิง


5 กม. 17:00 19:00 20:30 23:00
10 กม. 35:00 39:00 42:00 47:00
ครึ่งมาราธอน 1:17:30 1:27:30 1:35 1:47:30




ที่มา   ( นิตยสาร Running โดย...มงคล คธาทอง )















กติกาการแข่งขันกรีฑา

กติกาการแข่งขันทั่วไป


กติกาข้อ 1
สิ่งอำนวยการความสะดวกของสนามกรีฑา (The Athletic Facility)


           สนามที่มีผิวหน้าเป็นแบบเดียวกันและมั่นคงแข็งแรงตรงตามที่คู่มืออำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF กำหนดจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้ การแข่งขันกรีฑาประเภทประเภทลู่และประเภทลานภายใต้กติกาข้อ 12.1 a, b, c, d และการแข่งขันที่ IAAF ควบคุมโดยตรงจะต้องใช้สนามที่ผิวลู่ทำด้วยยางสังเคราะห์เท่านั้นและต้องโดยตรงจะต้องผ่านความเห็นชอบรับรองว่าเป็นชั้น 1 จาก IAAF จึงจะอนุญาตให้จัดการแข่งขันได้ เป็นข้อแนะนำว่า เมื่อสามารถใช้ลู่ยางสังเคราะห์ได้ การแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e), (f), (g), และ (h) ก็ควรใช้ลู่ยางสังเคราะห์
          ในทุกรายละเอียดของเอกสารประกอบที่รับรองความถูกต้องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งประเภทลู่และประเภทลานตามแบบแผนใต้ระบบการรับรองของ IAAF ซึ่งต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดในการแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (h)
           หมายเหตุ 1: หนังสือคู่มือสิ่งอำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF ซึ่งพิมพ์ในปี 1999 สามารถซื้อได้จากกองเลขาธิการของ IAAF ในเล่มบรรจุเนื้อหาและคำอธิบายไว้อย่างครอบคลุม ระบุถึงการวางแผนและการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของกรีฑาประเภทลู่ประลาน รวมทั้งแผนผังการวัดระยะและการทำเครื่องหมายต่าง ๆ
          หมายเหตุ 2: แผนผังมาตรฐานที่รับรองแล้วของการวัดระยะสิ่งของอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ สามารถติดต่อขอได้จาก IAAF และศึกษาได้จากเครือข่าย (Website) ของ IAAF
          หมายเหตุ 3: กติกาข้อนี้ไม่ใช่กับการแข่งขันวิ่งและการแข่งขันเดินที่อยู่ในประเภทถนนและวิ่งข้ามทุ่ง


กติกาข้อ 2


กลุ่มอายุ (Age Group)
กลุ่มอายุต่อไปนี้สามารถใช้กับการแข่งขันของ IAAF ได้


ยุวชนชายและหญิง : คือนักกรีฑาที่มีอายุ 16 หรือ 17 ปี โดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
เยาวชนชายและหญิง : คือนักกรีฑาที่มีอายุ 18 หรือ 19 ปีโดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน
สูงอายุ ชาย : นักกรีฑาชายอายุ 40 ปีบริบูรณ์
สูงอายุหญิง : นักกรีฑาหญิงอายุ 35 ปีบริบูรณ์


หมายเหตุ : เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันสูงอายุ แนะนำให้ใช้หนังสือคู่มือ IAAF/WAVA ซึ่งผ่านการรับรองจากสภาของ IAAF และ WAVA


กติกาข้อ 3


การสมัคร (ENTRIES)


           1. การแข่งขันภายใต้กติกาของ IAAF จำกัดสำหรับนักกรีฑาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกติกาของ IAAF เท่านั้น
          2. ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาคนใดเข้าร่วมการแข่งขันนอกประเทศของตน นอกจากเขาจะได้รับรองสถานภาพจากสมาคมกรีฑาแห่งประเทศของตนอนุญาตให้เข้าแข่งได้ การแข่งขันระหว่างประเทศ และการรับรองสถานภาพของนักกรีฑาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับได้ นอกจากจะมีการคัดค้านเกี่ยวกับสถานภาพของเขาได้ถูกเสนอต่อ IAAF เท่านั้น


การแข่งขันพร้อมกันหลายรายการ


         3. ถ้าผู้เข้าแข่งขันสมัครเข้าแข่งขันทั้งประเภทลู่และลานหรือในประเภทลานมากกว่าหนึ่งรายการ ซึ่งจะต้องแข่งขันพร้อมกันผู้ชี้ขาดอาจยินยอมให้นักกรีฑาทำการแข่งขันรอบในเวลาหนึ่งหรือทำการประลองแต่ละครั้งในการกระโดดสูงและกระโดดค้ำ และอนุญาตให้ผู้แข่งขันทำการประลองแตกต่างไปจากลำดับที่ได้กำหนดไว้ก่อนเริ่มการแข่งขันได้ ถ้านักกรีฑาผู้นั้นไม่อยู่เพื่อทำการประลอง ถือว่าขอผ่านการประลองหนึ่งครั้งเมื่อการประลองรอบนั้น ๆ ผ่านไป


การละเลยไม่เข้าร่วมในการแข่งขัน


          4. ในการแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) , (b) และ (c) ยกเว้นถ้ามีเงื่อนไขตามที่กล่าวไว้ข้างล่าง ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันต่อไป รวมทั้งการวิ่งผลัดในกรณีที่


              (i) ได้ยืนยันครั้งสุดท้ายแล้วว่า จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้นแต่มิได้เข้าร่วมการแข่งขัน เขาจะถูกตัดชื่อออกจากการแข่งขันรายการนั้นอย่างเป็นทางการ
              (ii) นักกรีฑาผ่านรอบคัดเลือกได้เข้ารอบต่อ ๆ ไป แต่เขาละเลยที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในรอบที่มีสิทธิ์นั้น ๆ


          ใบรับรองแพทย์ ซึ่งลงนามรับรองโดยเจ้าหน้าที่แพทย์ที่แต่งตั้งหรือได้รับความเห็นชอบจาก IAAF และหรือคณะกรรมการบริหาร อาจจะเพียงพอสำหรับการยอมรับในกรณีที่ นักกรีฑาไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันหลังจากที่ได้ยืนยันแล้วหรือหลังจากที่การแข่งขันรอบก่อนหน้านั้นได้ผ่านไปแล้ว แต่สามารถที่จะแข่งขันในรายการของวันต่อไปได้


          หมายเหตุ : 1. เวลาที่กำหนดแน่นอนสำหรับการยืนยันครั้งสุดท้ายในการเข้าร่วมการแข่งขันควรพิมพ์ไว้ล่วงหน้า


          2. การละเลยที่จะเข้าการแข่งขัน รวมทั้งละเลยที่จะแข่งขันอย่างซื่อสัตย์ ด้วยความมานะอย่างสุจริตใจ


         ผู้ชี้ขาดที่รับผิดชอบจะเป็นผู้ตัดสิน และต้องบันทึกเหตุการณ์ลงในใบบันทึกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแข่งขันรายการเฉพาะบุคคลประเภทรวม


กติกาข้อ 4.


เสื้อผ้า รองเท้า และหมายเลขประจำตัวนักกรีฑา (CLOTHING, SHOES AND NUMBER BIBS)


เสื้อผ้า


            1. ในการแข่งขันกรีฑาทุกรายการ นักกรีฑาจะต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด ออกแบบอย่างเหมาะสม และสวมใส่ไม่ดูน่าเกลียดเสื้อผ้าจะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่โปร่งบางแม้เวลาเปียกน้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่สวมเสื้อผ้าซึ่งอาจขัดขวางสายตาของผู้ตัดสิน
            การแข่งขันทั้งหมดภายในกติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (e) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ การแข่งขันทั้งหมด ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e) (สโมสรชิงถ้วย) ถึง (h) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ หรือที่สโมสรกำหนดอย่างเป็นทางการ พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ และให้เกียรติใด ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันความมุ่งหมายของกติกาข้อนีรองเท้า
            2. ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าแข่งขันด้วยเท้าเปล่า สวมรองเท้าข้างเดียวหรือสองข่างก็ได้ จุดมุ่งหมายที่สวมรองเท้าเข้าแข่งขันก็เพื่อป้องกันเท้า ทำให้เท้ามั่นคง กระชับกับพื้นสนาม อย่างไรก็ตามรองเท้าดังกล่าวนี้ต้องไม่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เข้าแข่งขันได้เปรียบ จะต้องไม่มีสปริงหรือเครื่องมือใด ๆ ติดอยู่กับรองเท้า จะมีสายรัดหลังเท้าด้วยก็ได้ การแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (b) ที่แข่งขันมากกว่าหนึ่งวัน เจ้าหน้าที่ทีมจะต้องรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเรื่องรองเท้าที่นักกรีฑาสวมแข่งขันต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาเปลี่ยนไปใช้รองเท้าคู่อื่น ตลอดเวลาการแข่งขันนั้น นักกรีฑาที่แข่งขันประเภทรวมจะต้องรายงานว่าในแต่ละรายการ จะสวมใส่รองเท้าอะไร


จำนวนตะปูรองเท้า


          3. พื้นรองเท้าและส้น ให้มีตะปูได้ข้างละ 11 ตัว จะใช้จำนวนเท่าใดก็ได้แต่ไม่เกิน 11 ตัว


ขนาดของตะปูรองเท้า


          4. การแข่งขันในลู่ยางสังเคราะห์ ความยาวของตะปูที่ยื่นจากพื้นรองเท้าและส้นต้องไม่ยาวเกินกว่า 9 มิลลิเมตร นอกจากในการกระโดดสูงและการพุ่งแหลน ให้ยาวไม่เกิน 12 มิลลิเมตร ตะปูเหล่านี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด 4 มิลลิเมตร ความยาวของตะปูไม่เกิน 25 มิลลิเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4 มิลลิเมตร อนุญาตให้ใช้ได้ในสนามที่ลู่วิ่งไม่ได้ทำด้วยยางสังเคราะห์


พื้นรองเท้าและส้นรองเท้า


         5. พื้นรองเท้าและส้นอาจเป็นร่อง เป็นสัน เป็นลอนบางหรือมีปุ่มยื่นออกมาก็ได้ แต่ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องทำขึ้นมาจากวัสดุที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับพื้นรองเท้านั้น ในการกระโดสูงและกระโดดไกลพื้นรองเท้าจะมีความหนาได้ไม่เกิน 13 มิลลิเมตร และส้นรองเท้าของกระโดดสูงจะมีความหนาได้ไม่เกิน 19 มิลลิเมตร ในการแข่งขันชนิดอื่น ๆ ทั้งหมดพื้นรองเท้าและ/หรือส้นรองเท้าจะมีความหนาแตกต่างกันไป


สิ่งที่สอดใส่และเพิ่มเติมแก่รองเท้า


          6. ผู้เข้าแข่งขันไม่ควรใช้อุปกรณ์ใด ๆ อื่น อีกทั้งภายในและภายนอกรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้าเพิ่มเติมขึ้นเกินกว่าระดับสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ หรือสามารถทำให้ผู้สวมได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งแตกต่างจากการใช้รองเท้าตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ผ่านมา


หมายเลขผู้เข้าแข่งขัน


          7. ผู้เข้าแข่งขันทุก ๆ คนจะได้รับหมายเลข 2 แผ่น ซึ่งเขาจะต้องติดให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่หน้าอกและหลังในระหว่างการแข่งขันนอกจากในการแข่งขันกระโดดสูงและกระโดดค้ำ ซึ่งจะใช้หมายเลขเพียงแผ่นเดียวติดไว้ที่หน้าอกหรือหลัง หมายเลขจะต้องตรงกับหมายเลขที่ระบุในรายการการแข่งขัน ถ้าสวมชุดอุ่นร่างกายในระหว่างการแข่งขันหมายเลขดังกล่าวนั้นจะต้องติดสูงที่ชุดอบอุ่นร่างกายในทำนองเดียวกัน


          8. จะต้องติดหมายเลขให้หันหน้าออก ห้ามตัด พับ หรือปิดบังในทุกกรณีในการแข่งขันระยะไกลอาจเจาะรูเพื่อระบายอากาศได้แต่ห้ามเจาะรูบนตัวหนังสือหรือตัวเลข


          9. ถ้าใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพที่เส้นชัย คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจำเป็นต้องให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันติดหมายเลขเพิ่มอีกที่ด้านข้างกางเกงขาสั้น จะไม่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมคนใดที่ไม่ได้ติดหมายเลขเข้าร่วมการแข่งขัน


กติกาข้อ 5


การช่วยเหลือนักกรีฑา (ASSISTANCE TO ATHLESTES)


การบอกเวลาระหว่างการแข่งขัน
         
            1. เวลาระหว่างการแข่งขัน และเวลาสำหรับผู้ชนะรอบคัดเลือก ควรจะประกาศหรือแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการ ผู้ที่อยู่บริเวณสนามแข่งขันจะแจ้งเวลาดังกล่าวให้แก่นักกรีฑาในขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาดเสียก่อน
การให้ความช่วยเหลือ


            2 ข้อต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ
               (i) การติดต่อสื่อสารระหว่างนักกรีฑากับผู้ฝึกสอนของเขาที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณสถานแข่งขัน เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปโดยสะดวกและไม่เป็นการรบกวนการชมการแข่งขัน ความสำรองที่นั่งที่อยู่ใกล้สถานแข่งขันมากที่สุดไว้สำหรับผู้ฝึกสอนของนักกรีฑาแต่ละคนในทุก ๆ รายการแข่งขันประเภทลาน
               (ii) การทำกายภาพบำบัด และการตรวจรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อให้ นักกรีฑาสามารถเข้าร่วมการแข่งขันหรือแข่งขันต่อไปได้ด้วยการแต่งตั้งหรือเห็นชอบจากคณะแพทย์ และ / หรือจากผู้แทนเทคนิคที่เฉพาะเจาะจง อนุญาตทำให้ทำโดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่เป็นการถ่วงเวลาการแข่งขัน หรือหลีกเลี่ยงลำดับการประลองตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นการดูแลรักษาหรือการให้ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นใดในระหว่างแข่งขันหรือช่วงกระชั้นชิดก่อนการแข่งขันนับตั้งแต่ นักกรีฑาได้ออกจากห้องรายงานตัวจะถือเป็นการให้ความช่วยเหลือ


จากวัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ข้อต่อไปนี้ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ จึงไม่อนุญาต


               (i) การเคลื่อนที่เคียงคู่กันไปในระหว่างการแข่งขันกับผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขัน หรือกับนักวิ่งหรือนักเดินที่โดนแซงรอบไปแล้วหรือกำลังจะถูกแซงรอบ หรือโดยใช้อุปกรณ์เทคนิคใดๆ ช่วยเหลือ
               (ii) ใช้วิดีทัศน์ หรือเครื่องบันทึกเสียงหรือภาพ วิทยุ ซีดี วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์พกพา หรืออุปกรณ์ที่คล้ายในบริเวณสถานแข่งขัน นักกรีฑาคนใดให้หรือรับการช่วยเหลือภายในบริเวณสถานแข่งขันในระหว่างการแข่งขันจะถูกเตือนจากผู้ชี้ขาด ถ้าทำซ้ำอีกจะถูกตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขันรายการนั้น


การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสลม
              
               3. ควรมีถุงลมตั้งไว้ในตำแหน่งที่ใกล้กับจุดเริ่มแข่งขันประเภทกระโดดทุกรายการ รวมทั้งขว้างจักร และพุ่งแหลน เพื่อให้นักกรีฑาได้ทราบถึงทิศทางและความแรงของกระแสลม


เครื่องดื่ม/ฟองน้ำ (Drinking/ Sponging)


               4. ในการแข่งขันประเภทลู่ระยะทาง 5,000 เมตร หรือไกลกว่าคณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจะจัดน้ำ และฟองน้ำไว้ให้นักกรีฑา ถ้าสภาพของอากาศเป็นเหตุสมควรให้มีการจัดบริการเช่นนั้นได้


กติกาข้อ 6


การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน (DISQUALIFICATION)


           ถ้านักกรีฑาถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขันจากการละเมิดต่อกติกาของ IAAF จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการว่าละเมิดกติกาของ IAAF ข้อใด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ปกป้องไม่ให้นักกรีฑาคนนั้นเข้าร่วมในรายการต่อไป


           นักกรีฑาคนใดแสดงความไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือแสดงกิริยาไม่เหมาะสมจนทำให้หมดสิทธิ์จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่อไปทั้งหมด จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการถึงเหตุผลที่ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันถ้าการละเมิดนั้นถูกพิจารณาว่าร้ายแรง ผู้อำนวยการจัดการแข่งขันจะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเพื่อพิจารณาดำเนินการลงโทษทางวินัยต่อไป


กติกาข้อ 7.


การประท้วง และอุทธรณ์ (PROTESTS AND APPEALS)


           1. การประท้วงที่เกี่ยวกับสถานภาพของนักกรีฑาที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องกระทำก่อนเริ่มการแข่งขันโดยยื่นคำประท้วงต่อผู้แทนเทคนิค เมื่อผู้แทนเทคนิคพิจารณาแล้วจะส่งเรื่องต่อไปให้กรรมการอุทธรณ์ ถ้าเรื่องนั้นไม่สามารถตกลงกันได้อย่างน่าพอใจก่อนการแข่งขัน ก็ให้นักกรีฑาผู้นั้นลงได้ “ภายใต้การประท้วงแล้วให้เสนอการประท้วงไปยังสภาของ IAAF ต่อไป
          2. การประท้วงเกี่ยวกับการผลการแข่งขันหรือการดำเนินการแข่งขันจะต้องทำภายใน 30 นาที เมื่อได้มีการประกาศแข่งขันอย่างเป็นทางการแล้ว คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องรับผิดชอบสำหรับผลการแข่งขันแต่ละประเภทไว้ด้วย
          3. การประท้วงในกรณีใด ๆ ในครั้งแรกควรจะประท้วงด้วยวาจาโดยตัวนักกรีฑาเองหรือตัวแทนต่อผู้ชี้ขาดเพื่อให้การตัดสินนั้นเป็นธรรมผู้ชี้ขาดควรพิจารณาตามหลักฐานทุกอย่างที่ปรากฏ ที่เขาเห็นว่าจำเป็น รวมทั้งภาพถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งจัดทำโดยผู้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการ ผู้ชี้ขาดอาจเป็นผู้ตัดสินการประท้วงเอง หรือส่งเรื่องนั้นให้แก่กรรมการอุทธรณ์ ถ้าผู้ชี้ขาดตัดสินเองจะต้องมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อกรรมการอุทธรณ์ด้วย
          4. ในการแข่งขันประเภทลาน ถ้านักกรีฑาทำการประท้วงด้วยวาจาทันทีต่อการตัดสินการประลองฟาล์ว หัวหน้าผู้ตัดสินของการแข่งขันอาจสั่งด้วยความระมัดระวังและความรอบคอบของเขาเองให้มีการวัดระยะผลการประลอง และบันทึกผลที่ได้รับไว้เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้


          ในการแข่งขันประเภทลู่ ผู้ชี้ขาดลู่อาจใช้ดุลยพินิจของตนเองอนุญาตให้นักกรีฑาเข้าแข่งขันได้ แม้ในขณะที่มีการประท้วงหากมีนักกรีฑาประท้วงด้วยวาจาทันที หลังจากที่ได้รับทราบว่าออกตัวไม่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง
          
           อย่างไรก็ตาม ไม่อาจยอมรับการประท้วงได้ หากการปล่อยตัวไม่ถูกต้องนั้น ถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์การปล่อยตัวอย่างไม่ถูกต้อง


          5. การประท้วงต่อคณะกรรมการรับอุทธรณ์ต้องกระทำภายใน 30 นาที หลังจากผู้ชี้ขาดได้ตัดสินและประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้ว


         การประท้วงต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในฐานะตัวแทนของนักกรีฑาพร้อมเงินมัดจำ 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่า เงินจำนวนนี้จะถูกยึดถ้าการประท้วงนั้นตกไป


         6. คณะกรรมการรับอุทธรณ์จะต้องปรึกษากับบุคคลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์สงสัยจะต้องพิจารณาหลักฐานวีดิทัศน์ต่าง ๆ ที่หาได้ ถ้าหลักฐานเช่นนั้นเป็นข้อสรุปไม่ได้ จะต้องคงคำตัดสินของผู้ชี้ขาดไม่ได้ตามเดิม


กติกาข้อที่ 8.


การแข่งขันรวมกัน (MIXED COMPETITION)


การแข่งขันทุกรายการที่เสร็จสิ้นภายในสนามกรีฑา จะไม่อนุญาตให้เพศชายกับเพศหญิงแข่งรวมกัน


กติกาข้อ 9.




การวัด (MEASUREMENTS)


           สำหรับการแข่งขันประเภทลู่และลาน ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (c) การวัดทุกอย่างต้องวัดด้วยสายวัดที่ทำด้วยเหล็กกล้าหรือไม้วัดหรือเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแข่งขันระดับอื่น ๆ อาจใช้สายวัดที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสได้ ความเที่ยงตรงของเครื่องมือในการวัดใด ๆ ที่นำมาใช้ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานทางการชั่งและการวัด


กติกาข้อ 10.


สถิติที่รับรอง (VALIDTY AND PERFORMANCES)


           ไม่ถือว่าสถิติที่นักกรีฑาทำได้จะได้รับการรับรอง นอกจากการทำสถิตินั้นเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันที่คณะกรรมการได้จัดขึ้นภายใต้กติกาของ IAAF


กติกาข้อ 11.


การบันทึกวีดิทัศน์ (VIDEO RECORDING)


ในการแข่งขันที่จัดขึ้นภายใต้กติกาเป็นข้อเสนอแนะว่าให้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการในการแข่งขันกรีฑาทุกประเภทถ้าสามารถทำได้ ซึ่งความถูกต้องเที่ยงตรงของการแข่งขันและการละเมิดกติกาต่าง ๆ จะถูกบันทึกไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

กติกาข้อ 12.

การคิดคะแนน (SCORING)


         ในการแข่งขันซึ่งผลการแข่งขันนั้นกำหนดโดยการให้คะแนนวิธีการให้คะแนนควรจะตกลงกันโดยประเทศผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดก่อนเริ่มการแข่งขัน



ความหมายของกรีฑา

กีฬา-กรีฑา



          ในภาษาไทยมีคำจำนวนมากซึ่งรับมาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต การรับคำมาใช้อาจจะรับมาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งการเขียน การอ่าน และความหมายตามภาษาเดิม เช่น กรินี กริณี หรืออาจจะดัดแปลงเฉพาะการเขียนหรือการอ่านให้เหมาะสมกับอักขรวิธีไทยแต่ความหมายยังคงเดิม เช่น บิตา เป็น บิดา ปฤถวี ปฐวี เป็น ปถวี, ปฐพี หรือดัดแปลงการเขียน และความหมาย เช่น อฎฐิ (กระดูก) เป็น อัฐิ (กระดูกของคนที่เผาแล้ว) บางคำก็นิยมใช้รูปของภาษาใดภาษาหนึ่งมากกว่า เช่น คำ "อัฐิ" ใช้ตามรูปภาษาบาลี คำ "กรรม" ใช้ตามรูปภาษาสันสกฤต

          นอกจากการรับมาใช้ในลักษณะดัดแปลงดังกล่าวแล้ว ยังมีการนำคำบางคำซึ่งในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกันและไทยรับเอาคำจากทั้ง ๒ ภาษามาใช้ แต่แยกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น คำ "กีฬา" และ "กรีฑา"

           คำ "กีฬา" (บาลี) และ "กรีฑา" (สันสกฤต) มีความหมายเหมือนกันคือ "การเล่น, การเล่นสนุก, เล่น" แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า


           กีฬา น. กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินเพื่อเป็นการบำรุงแรงหรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดทางจิต. (ป.). (ดู กรีฑา). (หน้า ๑๐๑)

          กรีฑา น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นแผนกลู่และแผนกลาน; การเล่นสนุก เช่น ... (หน้า ๕๔)
จะเห็นได้ว่าคำทั้ง ๒ นี้ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงกว่าความหมายในภาษาเดิม
ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ ได้อธิบายความหมายของ "กีฬา" ไว้ดังนี้


         "ในวงการพลศึกษา ได้นิยมใช้คำทั้งสองนี้ไปในลักษณะที่มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือคำว่า กีฬา นั้น หมายความถึงกิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุก เพื่อเป็นการบำรุงแรง เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจ เช่น การเล่นฟุตบอล รักบี้ บาสเกตบอล บิลเลียด เทนนิส กอล์ฟ หมากรุก ไพ่ การล่าสัตว์ ว่ายน้ำ ปีนเขา มอญซ่อนผ้า ตีคลี กรีฑา ฯลฯ แต่ละอย่างนับเป็นกีฬา"

         ส่วนคำ "กรีฑา" ได้มีคำอธิบายไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ ไว้ดังนี้

         "กรีฑา เป็นกิจกรรมทางพลศึกษาประเภทหนึ่ง จัดรวมอยู่ใน "กีฬา" (sports) กล่าวคือ กรีฑาเป็นประเภทหนึ่งของบรรดากีฬาทั้งหลาย เช่นเดียวกับฟุตบอลหรือรักบี้เป็นประเภทหนึ่งของกีฬาเช่นกัน"

         "กรีฑา แบ่งได้เป็น ๒ แผนก แผนกหนึ่งเรียกว่า แผนกลู่ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า track หมายความว่าการแข่งขันในแผนกนี้ต้องมีทางวิ่งหรือแนวทางวิ่ง ... กรีฑาแผนกลู่ได้แก่ การวิ่งระยะ ๕๐ เมตร ๑๐๐ เมตร ... อีกแผนกหนึ่งเรียกว่า แผนกลาน ภาษาอังกฤษใช้ว่า field หมายความว่า ในการแข่งขันแผนกนี้ต้องมีสนาม หรือที่ว่าง หรือลาน เป็นที่สำหรับทำการแข่งขัน กรีฑาแผนกลานได้แก่ การขว้างจักร พุ่งแหลน ทุ่มลูกน้ำหนัก กระโดดสูง..."

         การยืมคำในภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งมีอยู่ทุกชาติ และไม่จำเป็นว่าเมื่อยืมมาแล้วจะต้องรักษารูป เสียง และความหมายตามเดิมทุกประการ มิฉะนั้นภาษาก็จะไม่มีการพัฒนาและเจริญเติบโต ซึ่งทำให้ภาษานั้นจะต้องตายไปในที่สุด.


ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๗, กรกฎาคม ๒๕๓๒



ประเภทของกรีฑา

กรีฑาประเภทลู่ มีดังต่อไปนี้

          1. การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในทางวิ่งหรือลู่วิ่งที่เรียบ ซึ่งมีระยะทางไม่เกิน 400 เมตร
นับจากจุดเริ่มต้น นักกีฬาแต่ละคนจะต้องวิ่ง 100 เมตร 200 เมตร 400 เมตร ซึ่งมีท่ามาตรฐาน ที่นิยมกันอยู่ 3 แบบ ดังต่อไปนี้


               -ท่าอีลองเกตเหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างสูงโปร่งเมื่อนักกีฬาเข้านั่งคุกเข่า
ประจำที่เรียบร้อยแล้วเข่าของเท้าหลังที่จรดพื้นจะอยู่ในระดับเดียวกับส้นเท้าหน้าปลายเท้าหน้าอยู่ห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 13 นิ้ว ปลายเท้าหลังอยู่ห่างจากเส้นประมาณ 41 นิ้ว


               -ท่ามีเดียมเหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างสันทัดปานกลางเมื่อนักกีฬา
นั่งคุกเข่าประจำที่เข่าของเท้าหลังที่วางจรดพื้นจะอยู่ในระดับเดียวกับปลายเท้าหน้าปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 15 นิ้ว ปลายเท้าหลังห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 34 นิ้ว


              -ท่าบันซ์เหมาะกับนักกรีฑารูปร่างเตี้ยเมื่อนักกีฬาเข้านั่งประจำที่ปลายเท้า
หลังจรดพื้นห่างจากเส้นเท้าหน้าประมาณ 8 นิ้วและปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ19 นิ้วปลายเท้าหลังห่างเส้น เริ่มประมาณ 29 นิ้ว


          2.การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การแข่งขันวิ่งในระยะทาง 800 เมตร และ1,500 เมตร ซึ่งกำลังได้รับความนิยมกันแพร่หลายอย่างมาก ทั้งระดับนานาชาติและในระดับโลก เป็นการแข่งขันที่รวมความพร้อมของร่างกายทั้งหมด คือ กำลัง ความเร็ว ความอดทนอย่างต่อเนื่อง
            นอกจากนี้ยังรวมถึงทักษะการฝึกด้านจังหวะการก้าวการแกว่งแขนที่มีวามสัมพันธ์กันโดยต่อเนื่อง โดยให้เกิดความกลมกลืนและมีประสิทธิภาพในการแข่งขันอย่างสูงสุด


          3.การวิ่งระยะไกล หมายถึง การแข่งขันวิ่งระยะทางตั้งแต่ 1,500 เมตรขึ้นไป คุณสมบัติของนักกีฬาวิ่งระยะไกล คือ มีรูปร่างค่อนข้างสูง มีน้ำหนักปานกลาง กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและมีจังหวะในการวิ่งที่ดีดังนั้นการฝึกหัดโดยทั่วไปก็เพื่อจะปรับปรุงในเรื่องจังหวะการก้าวขา และการแกว่งแขนที่จะใช้กำลังให้น้อยที่


          4.การวิ่งผลัด หมายถึง การแข่งขันกรีฑาประเภททีม ซึ่งต้องประกอบด้วยนักกีฬาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลงทำหน้าที่วิ่งในแต่ละช่วงของระยะทางตามที่ตนได้รับมอบหมาย หรือทำการตกลงไว้ภายในทีมตามปกติการแข่งขันกรีฑาประเภทวิ่งผลัดในระดับนานาชาติที่เป็นทางการ จะประกอบด้วยการวิ่งผลัดประเภท 4x100 เมตร ชาย-หญิง และ 4X400 เมตร ชาย-หญิง ส่วนระยะทางในการแข่งขันและจำนวนผู้ร่วมแข่งขัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมตามสภาพเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน อีกทั้งยังอาจเป็นการฝึกทักษะเพื่อเชื่อมโยงไปถึงการวิ่งผลัดระดับมาตราฐานต่อไปได้ด้วย


           5.การวิ่งข้ามเครื่องกีดขวางหรือวิ่งวิบาก
              -ระยะทางมาตราฐาน คือ 2,000 เมตรและ 3,000 เมตร
              -ในการแข่งขันประเภท 3,000 เมตร จะมีรั้ว 28 รั้ว ให้กระโดดข้าม และมีแอ่งน้ำให้กระโดด ข้าม 7 ครั้ง ส่วนการแข่งขันประเภท 2,000 เมตร จะมีรั้วกระโดดข้าม 18 รั้วและกระโดดข้ามแอ่งน้ำ 5 ครั้ง
              -ในการวิ่งข้ามเครื่องกีดขวาง 3,000 เมตร จะมีรั้วกระโดดอยู่ 5 รั้ว /รอบ และแอ่งน้ำจะอยู่ในตำแหน่งที่จะกระโดดครั้งที่ 4 ในแต่ละรอบในระยะ 2,000 เมตรนั้น หลุมน้ำจะอยู่ในตำแหน่งที่จะกระโดดครั้งที่ 2 ในรอบแรกและรอบอื่นๆจะอยู่ตำแหน่งที่จะกระโดดครั้งที่ 4 ฯลฯ


กรีฑาประเภทลาน มีดังต่อไปนี้

          1.กระโดดไกล คือ การสปริงเท้าจากพื้นไปในอากาศ ผู้ที่สามารถเล่นกีฬาชนิดนี้ได้ดี ควรมีสมบัติ ดังนี้


              -มีพื้นฐานการวิ่งที่เร็ว
              -ต้องมีการสปริงที่ข้อเท้าดีสมบูรณ์และแข็งแรง
              -น้ำหนักของร่างกายน้อย
              -มีการประสานกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาทดี


          2.กระโดดสูง เป็นกีฬาที่มีลักษณะรูปแบบการเคลื่อนไหวในการกระโดดมากที่สุดจุดมุ่งหมายของการวิ่งกระโดดสูงหรือการกระโดดสูงก็คือ การที่ผู้กระโดดวิ่งมาแล้วสามารถกระโดดขึ้นและลอยตัวข้ามไม้ที่พาดไว้โดยไม่ทำให้หล่น โดยจะต้องมีคุณสมบัติโดยทั่วไป ดังนี้


              -ควรมีรูปร่างสูง น้ำหนักตัวน้อย มีสปริงข้อเท้าดี
              -กล้ามเนื้อขามีความแข็งแรง วิ่งเร็ว
              -มีร่างกายอ่อนตัวดี และมีความเข้าใจในเทคนิคและทักษะการฝึกได้ดี


          3.ทุ่มน้ำหนัก เป็นกีฬาที่ต้องอาศัยโครงสร้างของร่างกายที่สูงใหญ่ แข็งแรง มีกำลัง ความเร็วความคล่องตัวตลอดจนความสัมพันธ์ในการประสานงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องทุ่มลูกน้ำหนักที่มีน้ำหนักเท่าๆกันภายในพื้นที่วงกลมที่ราบเรียบตามที่กติกากำหนดไว้โดยทุ่มออกไปข้างหน้า ผู้ที่ทุ่มได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะกีฬาประเภทนี้ควรมีคุณสมบัติดังนี้
              -ต้องมีรูปร่างสูงใหญ่ น้ำหนักตัวมาก(ไม่ใช่อ้วน)
              -แขนขามีกำลังสามารถวิ่งและกระโดดได้คล่องแคล่วว่องไว


          4.ขว้างจักร ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องขว้างจักรออกจากพื้นที่ภายในวงกลมให้จักรไปตามทิศทางและกติกาที่กำหนดไว้ ผู้ที่ขวางได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะกีฬาประเภทนี้เหมาะกับผู้มีช่วงแขนยาวซึ่งช่วยให้เกิดการได้เปรียบขณะหมุนตัวเหวี่ยงจักร นักขว้างจักรควรมีคุณสมบัติดังนี้
             -มีร่างกายแข็งแรง
             -รูปร่างใหญ่ ล่ำสัน นิ้วมือ แขน และไหล่กว้าง มีช่วงแขนยาว
             -มีความรวดเร็ว ว่องไว ประสางและทักษะการเคลื่อนไหวดี


          5.พุ่งแหลน ผู้เข้าแข็งขันแต่ละคนจะต้องพุ่งแหลนที่มีน้ำหนักเท่าๆกันขณะที่พุ่งแหลนต้องเคลื่อนที่ไปบนทางวิ่งและพุ่งแหลนออกไปตามกติกาที่กำหนดไว้ โดยพุ่งไปข้างหน้า ผู้พุ่งได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะนักกรีฑาประเภทนี้จึงต้องอาศัยกำลังและความเร็ว เพื่อพุ่งแหลนออกไปให้ได้ระยะทางไกลที่สุด คุณสมบัติโดยทั่วไปของนักพุ่งแหลนมีดังนี้
           - มีรูปร่างสูงใหญ่
           - วิ่งและกระโดดได้ดี
           - แขนยาว นิ้วมือยาว มีกำลังดึงและฟาดแขนได้รวดเร็วและแรง
           - ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและระบบประสาทดี

01 พฤศจิกายน 2552

กรีฑา

ประวัติความเป็นมาของกรีฑา


            กรีฑานับเป็นกีฬาเก่าที่เกิดมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะแต่ก่อนมนุษย์ไม่รู้จักทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่พัก ตลอดจนสร้างเครื่องนุ่งห่มเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์สมัยนั้นต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิดและมีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวกัน คือถ้ำ ซึ่งเรียกว่า "มนุษย์ชาวถ้ำ" (Cave man) และที่แห่งนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของการกีฬา โดยที่มนุษย์เหล่านี้ต้องป้องกันตัวเองจากสัตว์ร้ายบางครั้งต้องวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ร้ายการวิ่งเร็ว หากเทียบกับปัจจุบันก็คือการวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีต้องใช้เวลาในการวิ่งนาน ๆ ก็คือการวิ่งระยะยาวหรือวิ่งทนการวิ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงการวิ่งเพื่อไล่จับสัตว์มาเป็นอาหารหรือการต่อสู้ระหว่างเผ่า ในบางครั้งขณะที่วิ่งมีต้นไม้หรือก้อนหินขวางหน้า ถ้าเป็นที่ต่ำก็สามารถกระโดดข้ามได้ ปัจจุบันคือ การกระโดดข้ามรั้ว และกระโดดสูง ถ้าต้องการกระโดดข้ามได้อย่างธรรมดาจำเป็นต้องหาไม้ยาวๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หิน และโหนตัวข้ามไปยังอีฝั่งหนึ่ง กลายเป็นการกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือแหลนหลาวที่ทำด้วยไม้ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ปัจจุบันก็กลายมาเป็นพุ่งแหลน หรือการเอาก้อนหินใหญ่ๆ มาทุ่มใส่สัตว์ ขว้างสัตว์ กลายมาเป็นการขว้างจักรใน

            ปัจจุบันจึงเห็นได้ว่าการ วิ่ง กระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เหวี่ยง ที่พ่อแม่ หรือหัวหน้าเผ่าสั่งสอนถ่ายทอดให้ในสมัยนั้นมีไว้เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันในปัจจุบันก็มีเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ทำหน้าที่นี้คือ ครูอาจารย์และโค้ชนั่นเองสมัยกรีก ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ริเริ่มการเล่นกีฬาขึ้นหลายอย่าง เมื่อราว 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล กรีก คือชนเผ่าหนุ่มซึ่งอพยพมาจากทางเหนือเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรบอลข่าน และตั้งรกรากปะปนกับชาวพื้นเมืองเดิม แล้วสืบเชื้อสายผสมกันมาเป็นชาวกรีก ต่อมากรีกได้เจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดในด้านต่างๆ ทั้งด้านปรัชญา วรรณคดี ดนตรี และการพลศึกษา โดยเฉพาะด้านการพลศึกษา นับว่ามีบทบาทสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรีก อย่างยิ่งเนื่องจากประเทศกรีกมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยภูเขา ความเป็นอยู่ในสมัยนั้นจึงเป็นไปอย่างหยาบๆ กรีกจะแบ่งออกเป็นรัฐโดยแต่ละรัฐปกครองตนเอง และเมื่อแต่ละรัฐคิดที่จะแย่งกันเป็นใหญ่ จึงมีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ รัฐที่สำคัญและเข้มแข็งมีอยู่สองรัฐคือ เอเธนส์และสปาร์ต้า ชาวกรีกมีความเชื่อในพระเจ้าต่างๆหลายองค์ด้วยกันเช่น

          1. เทพเจ้าซีอุส (Zeus) เป็นประธานหรือพระเจ้าองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย

          2. พระเจ้าอะธินา (Athena) คือเทพธิดาแห่งความเฉลียวฉลาด

          3. เทพเจ้าอะพอลโล (Apollo) คือเทพเจ้าแห่งแสงสว่างกับความจริง

          4. เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes) คือเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร

          5. เทพเจ้าอาเรส (Ares) คือเทพเจ้าแห่งสงคราม

          6. เทพเจ้าอาร์ทีมิส (Artemis) คือเทพธิดาแห่งการล่าสัตว์6. เทพเจ้าอาร์ทีมิส (Artemis) คือเทพธิดาแห่งการล่าสัตว์

             ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้าเหล่านี้สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส (Olimpus) คล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของชาวกรีก ชาวกรีกจึงพยายามที่จะเอาใจ ทำความเข้าใจ และสนิทกับพระเจ้า โดยการบวงสรวงหรือทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อฉลองพระเกียรติของพระเจ้าเหล่านั้น ดังนั้นเวลากระทำพิธีหรือมีงานฉลองมหกรรมใด ๆ ชาวกรีกจะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น ณ บริเวณยอดเขาโอลิมปัส แต่ต่อมาคนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมากเจ้าทั้งหลายของตนอย่ามโหฬารอนึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการบวงสรวงตามพิธีการทางศาสนาแล้ว ก็มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ขึ้นดังได้กล่าวมาแล้วซึ่งการแข่งขันจะไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากนัก เป็นเพียงแข่งขันไปตามที่กำหนดให้เท่านั้นผู้ชนะของการแข่งขันก็ได้รับรางวัล ความมุ่งหมายในการแข่งขันของกรีกสมัยนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พลเมืองมีสุขภาพสมบูรณ์ และมีร่างการที่สมส่วนสวยงามเมื่อกรีกเสื่อมอำนาจลงและต้องตกอยู่ภายใต้การครอบตรองของชนชาติโรมัน


            การกีฬาของกรีก เริ่มเสื่อมโทรมลงตามลำดับ-ถึงปี พ.ศ. 937 ธีโอดอซีอุส มหาราชแห่งโรมัน ประกาศห้ามชาวกรีก ประชุมแข่งขันกีฬาอีก จึงทำให้การเล่นกีฬาของกรีกต้องล้มเลิกไปเป็นเวลานานถึง 15 ศตวรรษสมัยโรมัน ต่อมาในปลายสมัยของโฮเมอร์ มีชนเผ่าหนึ่งมาตั้งรกรากอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ด้านตะวันออกของกรีก ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นพวกโรมันชาตินักรบ มีความกล้าหาญอดทน และมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ขึ้นมาพร้อมๆ กับความเสื่อมลงของประเทศกรีก ชาวโรมันนิยมและศรัทธาพลศึกษามากเป็นชีวิตจิตใจ เขาถือว่าพลศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิตประจำวัน ชาวโรมันฝึกฝนบุตรของตนมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงให้มีความสามารถในเชิงดาบ โล่ห์ แหลน ในการสู้รบบนหลังม้า รวมทั้งการต่อสู้ประเภทอื่น ๆ สนามฝึกหัดกีฬาเหล่านี้เรียกว่า แคมปัสมาร์ติอุส(Campusmartius) เป็นสนามกว้างใหญ่อยู่นอกตัวเมือง และมีสถานฝึกแข่งว่ายน้ำสำคัญเรียกว่า เธอร์มา (Therma) และมีสนามกีฬาแห่งชาติขนาดใหญ่ในกรุงโรมที่จุคนได้ถึง 200,000 คน เรียกว่า โคลิเซี่ยม (Coliseum)


           ชาวโรมันชายทุกคนต้องเป็นทหารในยามสงคราม เขาจึงฝึกพลศึกษาการต่อสู้แบบต่าง ๆ ในค่ายฝึกเสมอ ด้วยผลแห่งการฝึกพลศึกษา การกีฬา และเชิงรบแต่เยาว์วัยของประชาชน โรมันจึงมีกองทัพอันเข้มแข็ง และสามารถแผ่อำนาจเข้าครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์-เรเนียน และยุโรปตะวันตกบางตอน รวมขึ้นเป็นราชอาณาจักรโรมัน (The Roman Empire) ต่อมาราชอาณาจักรโรมันก็เสื่อมลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการ การเสื่อมความนิยมในพลศึกษาซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญข้อหนึ่งเพราะชาวโรมันกลับ เห็นว่าพลศึกษาเป็นของต่ำจึงเลิกเล่นกีฬาหันไปใช้พวกทาสแกลดิเอเตอร์ (Gladiators) ต่อสู้กันเองบางครั้งก็ต่อสู้กับสัตว์ร้ายและเห็นว่าการศึกษาวิชาการมีประโยชน์กว่าวิชาพลศึกษา


            ดังนั้นโรมันจึงกลายเป็นชาติที่อ่อนแอ จนถึงกับใช้ทหารรับจ้างในยามศึกสงครามแล้วในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ชนชาวติวตัน (Tue Ton)อันเป็นชาติที่นิยมกีฬากลางแจ้ง และมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์สมัยปัจจุบัน พ.ศ. 2435 นักกีฬาชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง มีฐานันดรศักดิ์เ ป็น บารอนเปียร์

            (บางท่านอ่านว่าปิแอร์) เดอ กูแบรแตง(Baron Piere de Coubertin) ท่านผู้นี้มีความสนใจในการกีฬาอย่างยิ่ง ได้พิจารณาเห็นว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศเป็นการเชื่อมความสามัคคี ผูกมัดสัมพันธภาพระหว่างชาติต่างๆ ที่ร่วมการแข่งขันด้วยกัน เป็นการสมาคมชั้นสูง เพื่อแลกเปลี่ยนจิตใจของนักกีฬาอันแท้จริงต่อกัน ไม่มีการผิดพ้องหมองใจกัน

            การแข่งขันกีฬาโอลิมเปียดสมัยโบราณได้ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 935 เป็นเหตุที่ทำให้ห่วงสัมพันธภาพในการกีฬาขาดสะบั้นลง และเป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งท่านผู้นี้จึงได้เชื้อเชิญสหายคือ ศาสตราจารย์ W. Stone แห่งสหรัฐอเมริกา Victor Black แห่งสวีเดน Dr. Jiriguch

           แห่งโบเฮาเมีย Sir Johe Astenley แห่งบริเตนใหญ่ ร่วมกันเปิดการประชุมกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ โดยยึดเอาอุดมคติแห่งความยุติธรรมอ่อนโยน สุภาพ มั่นคง และกำลังเป็นมูลฐานตามวัตถุประสงค์ของ โอลิมเปียดโบราณที่ว่า Citus, Altius, Fortius (เร็ว, สูง, แรง) ผู้สนใจการกีฬาคณะนี้ได้ปรึกษาหารือกัน จนกระทั่งวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2437 จึงได้เกิดการประชุมใหญ่ ระหว่างผู้แทนประเทศต่าง ๆ ที่เมืองเซอร์มอนน์ ประเทศฝรั่งเศส และได้ประกาศตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Olympic Committee) และตกลงกันให้มีการชุมนุมกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกของสมัยปัจจุบันที่กรุงเอเธนส์
ประเทศ กรีก

           ใน พ.ศ. 2439 บารอน เปียร์ เดอ กูแบรแตง ได้มอบคำขวัญให้ไว้แก่การแข่งขันโอลิมปิกสมัยปัจจุบันนี้ว่า "สาระสำคัญในการแข่งขันโอลิมปิก ไม่ใช่การชนะ แต่สำคัญอยู่ที่การเข้าร่วมแข่งขัน 4 ปีต่อ 1 ครั้ง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างประเทศในเครือสมาชิก" โดยความคิดของ บารอน เปียร์ เดอ กูแบรแตง ที่ได้รื้อฟื้นการแข่งขันโอลิมปิกขึ้น มิใช่เฉพาะเพื่อชัยชนะของผู้แข่งขันเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญ คือ การเข้าร่วมก่อให้เกิดสุขสันติภาพระหว่างชาติ และก้าวไปสู่สันติของโลก