31 มกราคม 2553

ระเบียบการแข่งขันกรีฑา

ระเบียบการจัดการแข่งขันกีฬากรีฑา
โรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย

******************

           เพื่อให้การแข่งขันกรีฑาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ในสังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
          อาศัยอำนาจตามความในหมวด ๒ ข้อ ๑๑ แห่งระเบียบ สถาบันการพลศึกษา ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๒ คณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬา จึงวางระเบียบ ไว้ดังนี้
         ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบการจัดการแข่งขันกีฬากรีฑาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย”
        
         ข้อ ๒ บรรดาระเบียบที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

         ข้อ ๓ ระเบียบหรือกติกาการแข่งขัน
                   ๓.๑ ให้ใช้ระเบียบสถาบันการพลศึกษา ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๒
                   ๓.๒ กติกาการแข่งขัน นอกจากระบุไว้ในระเบียบนี้แล้ว ให้ใช้กติกาของสหพันธ์กรีฑานานาชาติซึ่งสถาบันการพลศึกษา และสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดใช้ในปัจจุบัน

         ข้อ ๔ คณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน
                   ประธานฝ่ายกรีฑาของโรงเรียนกีฬาเจ้าภาพ ประธานกรรมการ
                   ผู้แทนสถาบันการพลศึกษา รองประธานกรรมการ
                   ผู้แทนเทคนิค (คณะกรรมการจัดการแข่งขันแต่งตั้ง) กรรมการ
                   บุคคลที่โรงเรียนกีฬาเจ้าภาพแต่งตั้ง กรรมการและเลขานุการ
                   บุคคลที่โรงเรียนกีฬาเจ้าภาพแต่งตั้ง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

        ข้อ ๕ คณะกรรมการพิจารณาประท้วง
                  ๕.๑ คณะกรรมการพิจารณาการประท้วงคุณสมบัติของนักกีฬา ให้เป็นไปตามระเบียบสถาบันการพลศึกษา ว่าด้วย การแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๒
                  ๕.๒ คณะกรรมการพิจารณาการประท้วงเทคนิค ให้ประกอบด้วย ดังนี้
                  ๕.๑ ผู้แทนเทคนิค ประธาน
                  ๕.๒ ผู้แทนสถาบันการพลศึกษา กรรมการ
                  ๕.๓ ผู้ชี้ขาด (ประเภทลู่/ลาน) กรรมการ
                  ๕.๔ เลขานุการจัดการแข่งขันกรีฑา โรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย กรรมการและเลขานุการ
         ข้อ ๖. ระเบียบและกติกาการแข่งขัน
                  ๖.๑ ให้ใช้ระเบียบ ว่าด้วยการแข่งขันกรีฑาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย และกติกาการแข่งขันของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ ฉบับที่สมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้การรับรอง
                  ๖.๒ ในกรณีที่เกิดปัญหาที่ไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบหรือกติกาการแข่งขัน การวินิจฉัยในกรณี นั้น ๆ ให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนเทคนิคและประธานอนุกรรมการจัดการแข่งขันกรีฑาเป็นผู้พิจารณาตัดสิน

         ข้อ ๗. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
                  ๗.๑ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องเป็นนักเรียนโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา และสังกัดโรงเรียนกีฬาที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
                  ๗.๒ ไม่เป็นนักเรียนที่อยู่ในระยะเวลาซึ่งโรงเรียนกีฬาลงโทษพักการเรียน
                  ๗.๓ อายุไม่เกินตามประเภทที่โรงเรียนกีฬาจัดการแข่งขันกำหนด
                          ๗.๓.๑ อายุไม่เกิน ๑๔ ปี (นับจากปี พ.ศ.เกิด)
                          ๗.๓.๒ อายุไม่เกิน ๑๖ ปี (นับจากปี พ.ศ.เกิด)
                          ๗.๓.๓ อายุไม่เกิน ๑๘ ปี (นับจากปี พ.ศ.เกิด)
                ๗.๔ ห้ามนักกีฬาที่มีอายุต่ำกว่าที่กำหนดสมัครเข้าแข่งขัน ดังนี้
                          ๗.๔.๑ ห้ามนักกีฬาอายุต่ำกว่า ๑๖ ปี เข้าแข่งขันประเภทวิ่ง ๕,๐๐๐ เมตร
                          ๗.๔.๓ ห้ามนักกีฬาอายุต่ำกว่า ๑๔ ปี เข้าแข่งขันประเภทวิ่ง ๘๐๐ เมตร, วิ่ง ๑,๕๐๐ เมตร, วิ่ง ๓,๐๐๐ เมตร, วิ่งวิบาก ๒,๐๐๐ เมตร

         ข้อ ๘ ประเภทการแข่งขัน
         ประเภทการแข่งขันกรีฑา โรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย
                ๑. ๑๐๐ เมตร
                ๒. ๒๐๐ เมตร
                ๓. ๔๐๐ เมตร
                ๔. ๘๐๐ เมตร
                ๕. ๑,๕๐๐ เมตร
                ๖. ๓,๐๐๐ เมตร
                ๗. ๕,๐๐๐ เมตร
                ๘. วิ่งวิบาก ๒,๐๐๐ เมตร
                ๙. วิ่งข้ามรั้ว ๑๐๐ เมตร หญิง
               ๑๐. วิ่งข้ามรั้ว ๑๑๐ เมตร ชาย
               ๑๑ วิ่งข้ามรั้ว ๔๐๐ เมตร
               ๑๒. วิ่งผลัด ๔x ๑๐๐ เมตร
               ๑๓. วิ่งผลัด ๔ x ๔๐๐ เมตร
               ๑๔. กระโดดไกล
               ๑๕. เขย่งก้าวกระโดด
               ๑๖. กระโดดค้ำ
               ๑๗. กระโดดสูง
               ๑๘. ทุ่มน้ำหนัก
               ๑๙. พุ่งแหลน
               ๒๐. ขว้างจักร
               ๒๑. ขว้างค้อน
               ๒๒. เดิน ๒,๐๐๐ เมตร
               ๒๓. เดิน ๓,๐๐๐ เมตร
               ๒๔. เดิน ๕,๐๐๐ เมตร
               ๒๕. สัตตกรีฑา
               ๒๖. อัฏฐกรีฑา
         ข้อ ๙. จำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
                    ๙.๑ นักกรีฑาคนหนึ่งเข้าแข่งขันได้เพียง ๑ รุ่นอายุเท่านั้น
                    ๙.๒ นักกรีฑาสามารถเข้าทำการแข่งขันได้คนละไม่เกิน ๓ ประเภท
                    ๙.๓ การแข่งขันประเภทเดี่ยว ให้ส่งรายชื่อเข้าแข่งขันได้ประเภทละ ๒ คน
                    ๙.๔ การแข่งขันประเภททีม ให้ส่งได้ประเภทละ ๑ ทีม (สำรอง ๒ คน)

        ข้อ ๑๐. การแต่งกายของนักกีฬา
                    ๑๐.๑ ให้นักกีฬาแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
                    ๑๐.๒ ชุดแข่งขันทีมวิ่งผลัด นักกีฬาต้องใช้ชุดและสีเดียวกัน
        ข้อ ๑๑. มารยาทของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีม (ผู้จัดการทีม และผู้ฝึกสอน) นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นนักกีฬาที่ดีและต้องปฏิบัติ ตามกติกาการแข่งขันทุกประการ หากมีการประพฤติตนไม่เหมาะสม (ทั้งในและนอกสนามแข่งขัน) หรือละเมิดต่อกติกาการแข่งขันจะพิจารณาโทษตามควรแก่กรณี

         ข้อ ๑๒. การประท้วง
                      ๑๒.๑ การประท้วงคุณสมบัติของนักกีฬา ให้ปฏิบัติตามระเบียบสถาบันการพลศึกษา
ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๒
                      ๑๒.๒ การประท้วงทางเทคนิค
                                 - ให้ประท้วงได้ตามแบบฟอร์มที่สถาบันการพลศึกษากำหนดขึ้นเท่านั้น
                                 - ให้ประท้วงภายใน ๓๐ นาที หลังจากการประกาศผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
                                 - ให้ยื่นประท้วงต่อประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ พร้อมเงินประกันจำนวน ๒,๐๐๐ บาท และ หากคำประท้วงไม่เป็นผล ให้ริบเงินประกันดังกล่าว ตกเป็นรายได้ของฝ่ายจัดการแข่งขัน
           อนึ่ง เรื่องคุณสมบัติของนักกีฬา หากคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ มีข้อสงสัยในเรื่องคุณสมบัติของนักกีฬา สามารถดำเนินการขอตรวจสอบหลักฐานได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีคู่กรณีในการยื่นประท้วง และผลการพิจารณาหรือการตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ ถือเป็นที่สุด

            ข้อ ๑๓. รางวัลการแข่งขัน
                          ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบ ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๒ หรือตามหมวด ๗ ข้อ ๒๖ ในการให้รางวัลนอกเหนือจากที่กำหนดให้ใช้ข้อ ๒๔ และ ๒๕ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน และ/หรือผู้รับผิดชอบอาจพิจารณารางวัลพิเศษมอบแก่นักกีฬาได้ตามความเหมาะสม ตามหลักสากลนิยม ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอำนวยการ
                         ๑๓.๑ การให้คะแนน
                                   อันดับที่ ๑ ได้ ๙ คะแนน
                                   อันดับที่ ๒ ได้ ๗ คะแนน
                                   อันดับที่ ๓ ได้ ๖ คะแนน
                                   อันดับที่ ๔ ได้ ๕ คะแนน
                                   อันดับที่ ๕ ได้ ๔ คะแนน
                                   อันดับที่ ๖ ได้ ๓ คะแนน
                                   อันดับที่ ๗ ได้ ๒ คะแนน
                                   อันดับที่ ๘ ได้ ๑ คะแนน

            การจะนับว่ามีการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ในแต่ละประเภทเพื่อนับคะแนนรับถ้วยรางวัล จะต้องมีการแข่งขันอย่างน้อย ๓ โรงเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน

                          ๑๓.๒ เหรียญรางวัลและประกาศนียบัตร
                                    อันดับที่ ๑ เหรียญชุบทอง และประกาศนียบัตร
                                    อันดับที่ ๒ เหรียญชุบเงิน และประกาศนียบัตร
                                    อันดับที่ ๓ เหรียญชุบทองแดง และประกาศนียบัตร

                         ๑๓.๓ ถ้วยรางวัล
                                   ๑๓.๓.๑ ชนะเลิศ คะแนนรวมทุกเกณฑ์อายุ ทั้งชาย – หญิง ได้รับถ้วยรางวัลเป็นกรรมสิทธิ์ หากมีคะแนนรวมเท่ากันตั้งแต่ ๒ โรงเรียนขึ้นไป จะครองถ้วยชนะเลิศร่วมกันในปีนั้น
                                   ๑๓.๓.๒ โล่รางวัลและประกาศเกียรติบัตร
                                                 - นักกีฬาดีเด่น ตามเกณฑ์อายุ ๑๔,๑๖ และ๑๘ ปี ชาย-หญิง จำนวน ๖ รางวัล
                                                 - ผู้ฝึกสอนดีเด่น ชาย – หญิง จำนวน ๒ รางวัล

             ข้อ ๑๔. หน้าที่ผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอน
                           ๑๔.๑ ผู้ฝึกสอนและผู้จัดการทีม ที่มีชื่อระบุไว้ในใบสมัคร ๓ คน เท่านั้นมีสิทธิเข้าประชุมหรือยื่น เรื่องประท้วงในข้อปัญหาการแข่งขันได้
                           ๑๔.๒. ผู้จัดการทีม ต้องแจ้งระเบียบกติกาการแข่งขัน และกำหนดการแข่งขันให้นักกีฬาของตน ทราบโดยละเอียด เพื่อประโยชน์ของทีม
                           ๑๔.๓ ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอน ต้องส่งนักกีฬาของตนไปรายงานตัวต่อฝ่ายเรียกตัวนักกีฬา ณ ที่รายงานตัวตามกำหนดการรายงานตัว

            ข้อ ๑๕. การยืนยันรายชื่อนักกีฬาและการรายงานตัว
                         ๑๕.๑. การยืนยันรายชื่อนักกีฬา (Final Confirmation) ให้แจ้งยืนยันรายชื่อนักกีฬาก่อนเวลา ๑๐.๐๐ น. ของวันก่อนการแข่งขัน ๑ วัน
                         ๑๕.๒. การรายงานตัวของนักกีฬาต่อฝ่ายเรียกตัวนักกีฬาก่อนการแข่งขัน ณ ที่รายงานตัว ดังนี้

ประเภท การรายงานตัว
           - กระโดดค้ำ และขว้างค้อน - ๕๐ นาที ก่อนการแข่งขัน
           - ประเภทลานอื่น ๆ - ๔๐ นาที ก่อนการแข่งขัน
           - ประเภทลู่ - ๓๐ นาที ก่อนการแข่งขัน
           - ประเภทรวม - ๓๐ นาที ก่อนการแข่งขัน
                         ๑๕.๓ นักกรีฑาทุกคนต้องแสดงบัตรประจำตัวนักกรีฑา ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายเรียกตัวนักกีฬาก่อนเข้าไปในสนามเพื่อทำการแข่งขัน หากนักกรีฑาคนใดไม่นำบัตรมาแสดงต่อฝ่ายเรียกตัวนักกีฬาจะไม่มีสิทธิ์ ลงแข่งขัน

           ข้อ ๑๖. กำหนดให้จัดการแข่งขัน ๔ วัน ตามรายการที่โรงเรียนเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กำหนดให้ ทั้งนี้ ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงรายการแข่งขันใด ๆ ยกเว้นได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนเทคนิคในการแข่งขันครั้งนั้น ๆ เป็นกรณีไป

           ข้อ ๑๗. ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขันกีฬาโรงเรียนแห่งประเทศไทย รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

25 มกราคม 2553

ประวัติความเป็นมาของกรีฑาผู้สูงอายุ

ประวัติกีฬากรีฑาสูงอายุ


            พ.ศ.2518 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์โลก (WVAC) ครั้งที่ 1 ณ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เริ่มมีแนวคิดที่จะก่อร่างสมาคมกรีฑาสูงอายุแห่งเอเซีย
            พ.ศ.2522 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 3 ณ เมืองฮาโนเวอร์ประเทศเยอรมันนีแนวคิดที่จะก่อร่างสมาคมกรีฑาสูงอายุแห่งเอเซียชัดเจนยิ่งขึ้น โดย 3 ผู้นำ คือ นายฮารี จันดรา จากสิงคโปร์ นายไมคลา ซิง จากอินเดีย และ นายโฮ เดโอะ โอคาดะ จากญี่ปุ่น
            พ.ศ.2524 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 4 ณ เมืองคริสเชิต ประเทศ นิวซีแลนด์ และการแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 1 ณ ประเทศสิงคโปร์
            พ.ศ.2526 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 2 ณ ประเทศอินเดีย
            พ.ศ.2528 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 3 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีการเสนอให้ร่างธรรมนูญขอจัดการแข่งขันชิงแชมป์เอเซีย สลับปีกับชิงแชมป์โลก
           พ.ศ.2529 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 4 ณ กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนี เซีย
           พ.ศ.2531 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 5 ณ เมืองไทยนาน ไทเป
           พ.ศ.2533 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 6 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
           พ.ศ.2535 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 7 ณ ประเทศสิงคโปร์
            พ.ศ.2537 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 8 ณ กรุงจาร์กาต้า ประเทศ อินโดนีเซีย
            พ.ศ.2539 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 9 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
            พ.ศ.2541 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 10 ณ เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น
            พ.ศ.2543 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 11 ณ เมืองบังกาลอร์ ประเทศ อินเดีย
           พ.ศ.2545 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 12 ณ เมืองต้าเหลียน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
            พ.ศ.2547 การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 13 ณ ประเทศไทย ประวัติกรีฑาสูงอายุในประเทศไทย
            พ.ศ.2528 ก่อตั้งชมรมกรีฑาผู้สูงอายุไทย
            พ.ศ.2539 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี
            พ.ศ.2540 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดเชียงใหม่
            พ.ศ.2541 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพมหานคร
            พ.ศ.2542 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
            พ.ศ.2543 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5 ณ กรุงเทพมหานคร


วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ชมรมกรีฑาผู้สูงอายุฯ ได้จดทะเบียนสถาปนา
เป็นสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย


            พ.ศ.2544 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้ง 6 ณ จังหวัดระยอง
            พ.ศ.2545 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 7 ณ จังหวัดนครสวรรค์
            พ.ศ.2546 แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 8 ณ จังหวัดราชบุรี







ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)

17 มกราคม 2553

ตัวอย่างการจัดโปรแกรมการแข่งขันกรีฑา

โปรแกรมการแข่งขันกรีฑา
กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2547

รายการที่     เวลา                    ประเภท                                     รอบ


      101        08.30 น.     เดิน 10,000 เมตร ชาย                     ชิงชนะเลิศ


      102        09.30 น.     วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร หญิง               สัตตกรีฑา 1


      103        09.30 น.     พุ่งเหลน ชาย                                   ชิงชนะเลิศ


      104        09.30 น.     กระโดดไกล ชาย                             ชิงชนะเลิศ


      105        09.40 น.     วิ่ง 100 เมตร หญิง                            คัดเลือก


      106        09.55 น.     วิ่ง 100 เมตร ชาย                             คัดเลือก

      107        10.00 น.     กระโดดสูง หญิง                             สัตตกรีฑา 2


      108        10.00 น.     วิ่ง 400 เมตร หญิง                            คัดเลือก


      109        10.20 น.     วิ่ง 400 เมตร ชาย                             คัดเลือก


      110        11.00 น.     วิ่ง 100 เมตร หญิง                          รองชนะเลิศ


      111        11.20 น.     วิ่ง 100 เมตร ชาย                           รองชนะเลิศ


      112        14.00 น.     กระโดดสูง ชาย                                ชิงชนะเลิศ


      113        14.00 น.     ทุ่มน้ำหนัก หญิง                             สัตตกรีฑา 3


      114        14.00 น.     ขว้างจักร หญิง                                ชิงชนะเลิศ


      115        14.00 น.     วิ่ง 400 เมตร หญิง                          รองชนะเลิศ


      116        14.20 น.     วิ่ง 400 เมตร ชาย                           รองชนะเลิศ


      117        14.40 น.     วิ่งผลัด 3 X 800 เมตร หญิง              ชิงชนะเลิศ


      118        15.00 น.     วิ่งผลัด 3 X 800 เมตร ชาย               ชิงชนะเลิศ


      119        15.30 น.     วิ่ง 100 เมตร หญิง                          ชิงชนะเลิศ


      120        15.45 น.     วิ่ง 100 เมตร ชาย                          ชิงชนะเลิศ


      121        16.00 น.     วิ่ง 200 เมตร หญิง                         สัตตกรีฑา 4




หมายเหตุ โปรแกรมการแข่งขันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

เกร็ดของกรีฑา

เกร็ดกรีฑา



           ก. การพิจารณาลักษณะการเข้าเส้นชัยที่ถูกต้องในการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่ ดูจากส่วนของ ลำตัวตั้งแต่ต้นคอ ลำตัวจนถึงเอว และรวมทั้งหัวไหล่ด้วย (ไม่รวมแขน ศีรษะ คอ ขา มือหรือเท้า) ถึงระดับของเส้นชัย ตามแนวดิ่งโดยถือเอาขอบที่ปลายเส้นชัย เป็นหลัก


          ข. สำหรับการแข่งขันประเภทลาน ผู้ที่ทำสถิติได้ดีที่สุด ถือเป็นผู้ชนะ


          ค. ในการรับส่งไม้ที่ถือว่าสมบูรณ์ในการแข่งขันวิ่งผลัด คือ การส่งด้วยมือของผู้ส่งกับผู้รับ และต้องอยู่ในเขตรับส่ง 20 เมตร โดยสังเกตตำแหน่งของไม้ผลัดเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับร่างกายนักกีฬา


         ช. การแข่งขันวิ่งวิบาก มีระยะทางคือ 2,000 ม. (สำหรับการแข่งขันประเภทเยาวชน) 3,000


         ม.(สำหรับการแข่งขันประเภทประชาชนทั่วไป)


สำหรับบ่อน้ำอยู่นอกสนาม


         ในการแข่งขันวิ่งวิบาก 2,000 ม.(วิ่งประมาณ 4รอบกับอีก300ม. ) จะกระโดดข้ามรั้ง ธรรมดา 4 รั้ว รวม 18 ครั้ง และกระโดดข้ามรั้วน้ำ 1 รั้วรวม 5 ครั้ง
         และการแข่งขันวิ่งวิบาก 3,000 เมตร ข้ามรั้วธรรมดา 4 รั้ว รวม 28 ครั้ง (7 รอบ) กระโดดข้ามรั้วน้ำ 1 รั้ว รวม 7 ครั้ง ซึ่งรั้วน้ำนี้จะอยู่ลำดับที่ 4 ของแต่ละรอบ(วิ่งประมาณ 7 รอบกับ 55ม.)


สำหรับบ่อน้ำในสนาม


          ในการวิ่ง 2,000 ม.จะวิ่ง 5 รอบ อีกประมาณ 16 เมตรโดยวิ่งข้ามรั้วที่สามเป็นรั้วแรกในรอบแรก
ส่วนการวิ่ง 3,000 ม. นักกีฬาจะวิ่ง 7 รอบกับอีกประมาณ 225 ม.โดยการวิ่งช่วงแรกประมาณ 225 ม. จะวิ่งตามลู่ของช่องที่ 1 เมื่อวิ่งครบประมาณ 225 ม.แล้วจึงจะเริ่มข้ามรั้วแรก รั้วที่สอง รั้วที่สามแล้ววิ่งเข้าด้านในกระโดดข้ามรั้วน้ำเป็นรั้วที่สี่ และรั้วธรรมดาเป็นรั้วที่ 5


การวิ่งในหน้าร้อน


         เมืองไทยเป็นเมืองที่มีอุณหภูมร้อนเกือบตลอดทั้งปี จนแม้แต่กลางวันของฤดูหนาว อากาศก็ยังร้อนมากภายใต้แสงแดด ส่วนฤดูร้อนโดยเฉพาะใกล้วันสงกรานต์ ในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ถ้าใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดกลางแดดคงต้องสูงกว่า 40 C แน่นอน แต่คนเรานั้นมีอุณหภูมิของร่างกายเพียง 37 C เท่านั้น ดังนั้นการวิ่งใต้อาคารที่ร้อนอบอ้าว กลางแดดคงทำให้เลือดของเราเดือดพล่านได้และที่ร้ายแรง คือ การสูญเสียน้ำจากร่างกายไปในลักษณะของเหงื่อที่หลั่งไหลออกมาในขณะทำการวิ่ง ท่านที่อยากจะวิ่งเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงคงแสดงความพอใจไม่น้อยในการที่เหงื่อไหลออกมา เพราะมีความเชื่อว่าถ้าเหงื่ออกมามากเท่าไหร่ น้ำหนักก็ยังลดได้เร็วขึ้น นับเป็นการมองผลที่ปรากฏออกมาชั่วคราวเท่านั้น แน่นอนเมื่อเราหยุดวิ่งและดื่มน้ำเข้าไปน้ำที่เสียไปก็จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายอีก น้ำหนักก็จะกลับเข้าสู่สภาพเดิม ปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการหมดสติหรือเป็นลมฟุบลงก็คือการสูญเสียนี้


ทำไมการสูญเสียเหงื่อออกมามากนั้นจึงนับเป็นเรื่องอันตรายต่อสุขภาพของร่างกายได้ จะเห็นได้ว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดย่อมขาดน้ำไม่ได้ และที่สำคัญที่สุดคือการที่เหงื่อออกจากร่างกายมากก็จะทำให้สูญเสียเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการอย่างมากไป อันเนื่องมาจากเหงื่อนั้นจะขับออกมาพร้อมกับน้ำและสามารถเห็นถ้าเราปล่อยให้แห้งเอง จะมีคราบเกลือติดอยู่บนผิวหนัง หรือเสื้อผ้า และถ้าลองชิมรสก็จะพิสูจน์ได้ว่ามีรสเค็มเหมือนเกลือ ดังนั้นการที่คนเราสูญเสียเกลือแร่ ก็จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังลงและอาจไม่ยอมทำงานและถ้าเรายังฝืนวิ่งต่อไป ผลก็คือเกิดการเป็นตะคริวหรือชักกระตุกไ

การดูกรีฑา

การดูกรีฑา






1. กรีฑา มีการแข่งขัน 2 ประเภท คื


         1.1 การแข่งขันประเภทลู่ มีการจับเวลา แข่งขันครั้งเดียวก็ถือผลแพ้ชนะได้ มีการเสมอกัน คือเวลาเท่ากันอาจตัดสินด้วยภาพ หรือจับสลากเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันในรอบต่อไป ถ้ามีนักกีฬาสมัครเข้าแข่งขันมากคน ก็ใช้วิธีการคัดเลือกหลายๆ รอบ ในรอบชิงชนะเลิศนั้น เฉพาะอันดับที่ 1 อาจให้แข่งขันกันใหม่ก็ได้ หรือให้เป็นไปตามผลคือเสมอกัน
        1.2 ในการแข่งขันประเภทลาน ไม่มีการจับเวลาในการแข่งขัน แต่จะมีการประลองเท่านั้น ไม่มีการเสมอกัน จะต้องตัดสินแพ้ชนะกันเด็ดขาด


2. การประลอง มีเฉพาะการแข่งขันประเภทลานเท่านั้น กำหนดการประลองไว้ดังนี้


        2.1 ถ้ามีนักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน ก็ให้ประลองคนละ 3 ครั้ง เพื่อคัดเอาไว้ 8 คน ถ้าอันดับที่ 8 ยังเสมอกันอยู่ก็ให้ประลองกันอีกคนละ 3 ครั้ง และได้กำหนดระยะเวลาในการประลองไว้ดังนี้
        2.2 ประเภทกระโดดสูง กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มน้ำหนัก ขว้างค้อน และพุ่งแหลน ให้เวลาประลอง 1 นาที 30 วินาที
        2.3 กระโดดค้ำ ให้เวลาประลอง คนละ 2 นาที ถ้ามีนักกีฬาคนเดียว ก็ให้ประลอง 5 นาที


3. การเสมอกัน ถ้ามีการเสมอกันให้ปฏิบัติดังนี้


       3.1 กระโดดสูง ให้เลื่อนไม้พาดขึ้นขั้นละ 2 ซม.
       3.2 กระโดดค้ำ ให้เลื่อนไม้พาดขึ้นขั้นละ 5 ซม.
       3.3 แผนกที่ตัดสินด้วยระยะทาง ก็ให้ดูสถิติที่ดีที่สุดในอันดับ 2,3 รองลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้ายังเสมอกันอยู่ก็ให้แข่งขันใหม่


4. การเข้าเส้นชัย นักกีฬาจะต้องใช้ส่วนหนาของลำตัว (หน้าอก) ถึงด้านหน้าของเส้นชัย ในแนวดิ่ง (ยกเว้น หัว คอ แขน ขา มือ เท้า)


5. ช่องวิ่งหรือลู่วิ่ง ช่องกว้าง 1.22 เมตร


           5.1 การแข่งขันวิ่งระยะทางไม่เกิน 400 เมตร จะต้องวิ่งในลู่ของตนเอง เริ่มวิ่งจากท่านั่งและใช้เครื่องยันเท้า รวมทั้งการวิ่งผลัด
           5.2 การแข่งขันวิ่งที่ไม่ได้กำหนดช่องวิ่งเฉพาะตัวไว้ เส้นเริ่มวิ่งจะต้องเป็นเส้นโค้ง เพื่อให้ทุกคน มีระยะยทางวิ่งไปถึงเส้นชัยเท่ากัน ให้เริ่มวิ่งในท่ายืน ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยยันเท้า


6. การแข่งขัน มีหลายประเภทดังนี้


          6.1 วิ่งข้ามรั้ว แต่ละรั้วจะมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัม การกระโดดข้ามทำให้รั้วล้มไม่มีผลต่อการตัดสิทธิ์จากการแข่งขันและการทำสถิติ
          6.2 วิ่งวิบาก จะต้องมีการกระโดดข้ามรั้วไม้และน้ำ (แอ่งน้ำ) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องข้ามรั้วแล้วจะกระโดดข้ามน้ำหรือลุยน้ำไปก็ได้
          6.3 วิ่งผลัด จะต้องรับไม้ในเขตรับไม้ของตนเอง ต้องถือไม้ตลอดเวลาถ้าทำไม้ตก จะต้องกลับมาเก็บด้วยตนเอง
          6.4 กระโดดสูง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว การเลื่อนไม้พาดขึ้นครั้งละไม่น้อยกว่า 3 ซม. ถ้ากระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขัน ต้องออกจากการแข่งขัน
          6.5 กระโดดค้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะใช้สารเกาะติดทามือหรือไม้ก็ได้ ห้ามใช้แถบยางพันมือหรือนิ้ว
          6.6 กระโดดไกล จะกระโดดแบบตีลังกาไม่ได้ จะวัดรอยที่หลุมทรายด้านใกล้กับกระดานกระโดดมากที่สุด รอยนั้นอาจจะเกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้
          6.7 เขย่งก้าวกระโดด จะต้องเขย่งแล้วเหยียบพื้นด้วยเท้าเดียวกันกับที่เหยียบกระดานกระโดด แล้วก้าวโดยใช้อีกเท้าข้างหนึ่งต่อไป จึงทำการกระโดด
          6.8 ทุ่มน้ำหนัก ต้องยืนทุ่มออกจากวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.135 เมตร ต้องเริ่มจากท่านิ่งจะทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว ห้ามเงื้อ, เวลาเตรียมให้ยืน ลูกน้ำหนักจะอยู่ที่คอใกล้คาง ลูกที่ทุ่มไปจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด
          6.9 ขว้างจักร จะต้องยืนขว้างออกจากวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.50 เมตร เริ่มจากท่านิ่ง จะต้องขว้างด้วยมือข้างเดียว จักรจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด
          6.10 การขว้างค้อน จะยืนขว้างออกจากวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.135 เมตร ต้องขว้างในกรงรูปตัวยู เริ่มจากท่านิ่ง ค้อนที่ขว้างจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด
          6.11 พุ่งแหลน จะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่ หรือเหนือแขนท่อนบนของมือที่จับแหลน จะพุ่งไม่เหวี่ยงหรือขว้าง ผลของการพุ่งก็เพียงหัวของแหลนตกถึงพื้นดินก่อนส่วนอื่นๆ ก็ถือว่าดี
          6.12 การเดิน คือการก้าวไปข้างหน้าโดยการก้าวเท้านั้น คงการสัมผัสพื้นไว้ เท้านำจะต้องเหยียดตึง (ไม่งอเข่า) ทันทีที่สัมผัสพื้น จนกว่าจะเลยแนวตั้งฉากกับลำตัวเสียก่อน ถ้าเดินผิดกติกาจะถูกเตือน ถ้าถูกเตือน 3 ครั้ง จะต้องออกจากการแข่งขัน การตั้งจุดให้น้ำนั้น ถ้าไม่เกิน 20 กม. ตั้งที่ไหนก็ได้ ถ้าเกิน 20 กม. ขึ่นไป ให้ตั้งทุก 5 กม. นักกีฬาคนใดรับน้ำหรือผ้าเย็น จากที่อื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ จะต้องถูกปรับแพ้และออกจากการแข่งขันทันที


7. ปัญจกรีฑา, ทศกรีฑา และสัตกรีฑา


          7.1 ปัญจกรีฑา (เฉพาะชาย) มี 5 ประเภท จะต้องแข่งขันตามลำดับ คือ กระโดดไกล, พุ่งแหลน, วิ่ง 200 เมตร, ขว้างจักร และวิ่ง 1,500 เมตร
          7.2 ทศกรีฑา (เฉพาะชาย) มี 10 ประเภท จัดแข่งขันตามลำดับ 2 วัน คือ วิ่ง 100 เมตร, กระโดดไกล, ทุ่มน้ำหนัก, กระโดสูง, วิ่ง 400 เมตร, วิ่งข้ามรั้วระยะทาง 110 เมตร (รั้วสูง 1.067 เมตร), ขว้างจักร, กระโดดค้ำ, พุ่งแหลน, และวิ่ง 1,500 เมตร
          7.3 สัตตกรีฑา (เฉพาะหญิง) มี 7 ประเภท จัดแข่งขัน 2 วัน ตามลำดับคือ วิ่งข้ามรั้ว ระยะทาง 100 เมตร (รั้วสูง 0.838 เมตร) กระโดดสูง, วิ่ง 200 เมตร, กระโดดไกล,พุ่งแหลน และวิ่ง 800 เมตร


การตัดสิน


          นักกีฬาผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ถ้าเสมอกันให้ผู้เข้าแข่งขันมากประเภทว่าเป็นผู้ชนะ ถ้ายังเสมอกันอยู่อีกก็ถือคะแนนที่มากกว่าในประเภทใดประเถทหนึ่งเป็นผู้ชนะ นักกีฬาใดไม่ประลองในประเภทใดประเภทหนึ่งให้ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขันต่อไป ต้องออกจากสนามทันที



อุปกรณ์กรีฑา

อุปกรณ์กรีฑา







สำหรับการแข่งขันประเภทลู่


           - เบอร์สำหรับติดด้านหน้าและหลังเสื้อของนักกีฬา
           - ที่ยันเท้าออกวิ่ง และฆ้อนตอก
           - รั้วกระโดดสำหรับการแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว
           - รั้วกระโดดสำหรับการวิ่งวิบาก
           - ไม้คทาวิ่งผลัด


สำหรับการแข่งขันประเภทลาน


          กระโดดไกลแลเขย่งก้าวกระโดด
                 - กระดานเริ่มและดินน้ำมัน
                 - ไม้เกลี่ยทราย

          กระโดดสูงและกระโดดค้ำถ่อ
                 - เสาตั้งกระโดดและพุกวางไม้ค้ำ
                 - ไม้พาด
                 - ไม้ค้ำของกลาง
                 - เบาะรองรับ
                 - รางกระโดดค้ำ
                 - ไม้ส่งสำหรับวางไม้พาดกระโดดค้ำ
                 - รางกระโดดค้ำ

ทุ่มน้ำหนัก ขว้างจักร พุ่งแหลน และขว้างฆ้อน


           - อุปกรณ์ทำวงกลม
           - ทางวิ่งพุ่งแหลนและที่เริ่มพุ่งพร้อมป้ายนอกแนวของเส้นสกัด
           - ลูกน้ำหนัก ชาย7.260 กก.,5.45 กก.(สำหรับเยาวชน 18 ปี)
           - ลูกน้ำหนักหญิง 4 กก.
           - จักรชาย 2 กก.,1 1/2กก.(สำหรับเยาชน18ปี)
           - จักรหญิง 1 กก.
           - แหลนชาย 800 กรัม,700 กรัม(สำหรับเยาวชน 18 ปี)
           - แหลนหญิง600กรัม
           - ค้อน 7.260 กก.
           - ไม้ขว้างทุ่มน้ำหนัก
           - กรงสำหรับขว้างจักรและขว้างฆ้อน (ถ้ามี)




กรีฑาในประเทศไทย

ประวัติกรีฑาในประเทศไทย






            การเล่นกรีฑาในประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกันในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมา
            การเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปและเมื่อเสด็จนิวัติคืนสประเทศไทย ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู นักเรียนรวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง (ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาโดยตลอด
           ปี พ.ศ.2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว กีฬาและกรีฑาได้ก็รับการสนับสนุนจัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑาระหว่างประชาชน
           ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการแข่งขัน กรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา และในปีนี้เองประเทศไทยก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรีฑาโลก
           ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกๆปีหมุนเวียนกันไปในแต่ละจังหวัด ในการแข่งขันกีฬาเขต (กีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน) และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้ง
           ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเข้าอยู่ในพราะบรมราชูปถัมภ์
           ปี พ.ศ. 2528 มีการเปลี่ยนชื่อจากองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยเป็น "กีฬาแห่งประเทศไทย"


ประวัติงานกรีฑานักเรียนประจำปี


           วันที่ 11 มกราคม ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) เป็นวันที่บรรดานักเรียนในกรุงเทพฯได้กราบบังคมทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯมาในที่ประชมุนักเรียนในกรุงเทพฯ ณ ท้องสนามหลวง เนื่องในวโรกาสที่พระองค์เสด็จกลับมาจากยุโรป ซึ่งต่อมากระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการ) ได้ทำการจัดการแข่งขันเป็นงานประจำปี และจัดควบกันไปในวันเดียวกับวันรับประกาศนียบัตรของนักเรียน
            การแข่งขันกรีฑาในสมัยนั้นมีหลายประเภท เช่น วิ่งแข่งขันระยะ 2 เส้นระยะทาง 10 เส้น กระโดดไกลกระโดดสูง แข่งขันจักรยาน ขว้างไกล วิ่งสวมกระสอบ วิ่งสามขา การแข่งขันดังกล่าวประเภทมีเหรียญและหนังสือเป็นรางวัล
            ปี พ.ศ. 2444 ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาที่สนามโรงเลี้ยงเด็กหน้าโรงเรียนสวลี และได้เพิ่มการแสดงฝีมือด้วย ต่อมาการแข่งขันกรีฑานักเรียนได้ว่างเว้นมาหลายปี
            ปี พ.ศ. 2447 อธิบดีกรมศึกษาธิการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาโรเงรียนวันที่ 1 และ 2 มกราคมมีสูจิบัตรสำหรับการแข่งขันด้วยเป็นครั้งแรก โดยแบ่งเป็นวันที่ 1 มกราคม เป็นวันแข่งขันฟุตบอลคู่สุดท้ายที่ท้องสนามหลวง และวันที่ 2 มกราคม เป็นวันแข่งขันกรีฑาโรงเรียนที่สนามโรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (โรงเรียนสวนกหลาบในปัจจุบัน) ดังที่กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลในการแข่งขันดังนี้

เริ่มการแข่งขันเวลาบ่ายโมง การแข่งขันกรีฑาได้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ


          ภาค 1 การแสดงกายบริหารมี โหนราว ไต่บันไดโค้ง หกคะเมนบนม้า หกคะเมนไม้เดี่ยว เล่นห่วง เล่นชิงช้า และจัดแถว
          ภาค 2 เป็นการประกวดกำลังมีชักเย่อ กระโดดสูง วิ่งข้ารั้ว วิ่งเก็บของกระโดดไกล วิ่งระยะทาง 2 เส้น วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทนระยะทาง 10 เส้น ปิดตาหาทาง วิ่งสามขา และวิ่งวิบาก


          ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดให้มีการแข่งขันมวยฝรั่งและแสดงวิชามวยไทย
          ปี พ.ศ. 2464 ได้จัดให้มีการแสดงวิชาฟันดาบไทย ดาบฝรั่ง
          ปี พ.ศ. 2470 กระทรวงธรรมการได้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า "กรมการจัดการกีฬาประจำปีของ>กระทรวงธรรมการ" เลือกจากอาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่โรงเรียนต่างๆแต่งตั้งเป็นกรรมการเป็นปีๆไป กรรมการคณะที่มีหน้าที่เป็นผู้จัดการกีฬาต่างๆของกระทรวงธรรมการทุกอย่างเฉพาะในจังหวัดพระนครและธนบุรี ส่วนภูมิภาคเป็นหน้าที่ของกรรมการจังหวัด
          ปี พ.ศ. 2478 ได้เพิ่มประเภทการแข่งขันกีฬาโรงเรียนให้มีมากขึ้นรวมทั้งเพิ่มสถานที่แข่งขันด้วย ส่วนการแข่งขันกรีฑาประจำปีได้ใช้สนามโรงเรียนหอวัง (กรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน) และเพื่อเป็นการควบคุมการแข่งขันและนักกีฬา กรมพลศึกษาได้ออกกฎระเบียบควบคุมมารยาทนักกีฬา โดยมีคณะกรรมการสอดส่องมารยาทนักกีฬาขณะแข่งขัน กับได้วางระเบียบในการให้รางวัลผู้มีฝีมือในการแข่งขัน โดยมีรางวัลเป็นลำดับดังนี้
                   - เสื้อสามารถ
                   - หมวกสามารถ
                   - เข็มสามารถ


ส่วนกรรมการที่มีความรู้ความสามารถในการตัดสินนั้นกรมพลศึกษาได้จัดแหนบให้เป็นเครื่องสมนาคุณ


           ปี พ.ศ. 2479 ได้เปิดการแข่งขันกรีฑาขึ้นเป็นครั้งแรกในพระบรมปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้มอบธงกีฬา ธงนำกีฬานักเรียน และธงนำกีฬาประชาชนแก่กรมพลศึกษา การแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่าย ก็ได้จัดให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรกในปีนี้
           ปี พ.ศ. 2480 ได้จัดให้มีการแข่งขันเป็นปีสุดท้ายที่ท้องสนามหลวง
           ปี พ.ศ. 2481 กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาประจำปี ในกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นครั้งแรก ลักษณะของสนามมีอัฒจันทร์ไม้ล้อมรอบหรือที่เรียกว่า "สนาม 1-2" ในการดำเนินการแข่งขันในครั้งนี้ได้จัดสร้างลู่ทางวิ่ง การจับเวลาให้เป็นไปอย่างการแข่งขันกรีฑาสากลนิยมซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดการแข่งขันในกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นครั้งแรกนอกจากนั้นในการแข่งขันบาสเกตบอล ฟุตบอล ตะกร้อ ฯลฯ ซึ่งเคยแยกไปแข่งขันตามสนามโรงเรียนต่างๆนั้น กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันในกรีฑาสถานแห่งชาติทุกประเภท ส่วนการแข่งขันกรีฑานั้นได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาประชาชนหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย
           ปี พ.ศ. 2483 ได้เปิดให้มีการแข่งขันหมากรุกฝรั่งขึ้น
           ปี พ.ศ. 2484 ทางกรมพลศึกษาได้จัดปรับปรุงสนามแข่งขันด้านต่างๆอีกทั้งยังได้พิจารณาปรับปรุงกติกากรีฑาให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม ทั้งในแง่ของเครื่องมือและการแต่งกายของกรรมการ นับว่าเป็นแบบฉบับที่ดีจนเป็นพื้นฐานที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
           ปี พ.ศ. 2485 ได้งดจัดการแข่งขันเนื่องจากมีอุทกภัยครั้งใหญ่ ตุลาคม แต่ก่อนนั้นกระทรวงได้สั่งการใหกรมพลศึกษานำนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆไปแสดงกายบริหารที่ท้องสนามหลวง มีนักเรียนแสดงทั้งหมด 4,000 คน(ในเดือนมิถุนายน)
           ปี พ.ศ. 2486 งดจัดการแข่งขันเพราะเกิดภาวะสงครามแต่หน่วยทหารญี่ปุ่นและทหารไทยได้ขอใช้สนามแข่งขันเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีอยู่ เนืองๆและในราวปลายปีก็ให้มีการแข่งขันจักรยาน 2 ล้อทางไกลระหว่างประชาชนจากกรีฑาสถานแห่งชาติถึงตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
           ปี พ.ศ.2487 สงครามทวีความรุนแรง ไม่ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาและกรีฑาใดๆ
           ปี พ.ศ. 2488 สงครามสงบ ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงคราม กรมพลศึกษาเห็นว่าพอจะดำเนินการแข่งขันกีฬาได้ จึงจัดให้มีการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยขึ้นเป็นครั้งแรก นอกจากนี้สมาคมรักบี้ฯสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯได้เช่าสนามเพื่อจัดการแข่งขันกีฬาประจำปี
           ปี พ.ศ. 2489 กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬากรีฑานักเรียนทุกประเภทต่อไปตามเดิม มีนักเรียนให้ความสนใจพอสมควร


การจัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนได้ดำเนินการแข่งขันเป็นประจำทุกๆปีติดต่อกัน ส่วนมากจัดการแข่งขันระหว่างเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม


          ปี พ.ศ. 2511 มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนโดยกรมพลศึกษาได้มีหนังสือถึงจังหวัดต่างๆ เชิญชวนให้จังหวัดจัดส่งนักกีฬาที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนไม่เกิน ม.ศ.- 3 อายุไม่เกิน 20 ปี เป็นการยกระดับการแข่งขันและเป็นการพัฒนาของด้านสถิติด้วย
          ปี พ.ศ. 2512 การแข่งขันกรีฑานักเรียนได้จัดพร้อมกับงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ซึ่งเรียกชื่อรวมกันว่างานกรีฑาศิลปหัตถกรรมของนักเรียน


          จนถึงปัจจุบันนี้การกีฬาของไทยได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอดและมิอาจจะปฏิเสธได้และว่ากรีฑานักเรียนเป็นส่วนช่วยให้การกีฬาของประเทศไทยมีการเจริญเติบโตขึ้นทัดเทียมประเทศต่างๆจะสังเกตจากการแข่งขันทุกครั้งมีการทำลายสถิติใหม่อยู่เสมอ





ที่มา  Copyright(c)2006.Mr.Narongrit saengkaew. All rights reserved

03 มกราคม 2553

บุคคลในอุดมคติของฉัน

ประวัติ เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา – หม่ำ จ๊กม๊ก



            หม่ำ จ๊กมก เกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 เป็นคนจังหวัดยโสธร มีพี่น้อง 7 คน เป็นคนกลาง
มีน้องสาวที่เล่นตลกคือแวว จ๊กมกหนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 16-17 ปี เคยเล่นตลกอยู่คณะของ เทพ โพธิ์งาม
            ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีชื่อเสียงในรายการชิงร้อยชิงล้านโดยการชักชวนของคุณปัญญา นิรันดร์กุลโดย เป็นตัวปริศนาในเกมชิงบ๊วย และได้รับความนิยมจนมีชื่อเสียงและมีผลงานพิธีกร รายการเกมโชว์ และเคยมีผลงานเพลงแนวหมอลำมาแล้วด้วยโดยเพลงดังคือเพลง เฮดจังได๋ และเคยตั้งตลกคณะหม่ำ จ๊กมก มีลูกทีมอาทิ เท่ง เถิดเทิง , โหน่ง ชะชะช่า , จาตุรงค์ มกจ๊ก , เป๋อ จ๊กมก
            ปัจจุบันหม่ำ จ๊กมก ได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ โดยมีภาพยนตร์เรื่องแรกคือบอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยมและ แหยม ยโสธร ที่ได้รายได้เกิน 100 ล้านบาท เป็นเจ้าของบริษัท บั้งไฟฟิล์ม จำกัด ผลิตภาพยนตร์ และบริษัท บั้งไฟสตูดิโอ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์คือ รายการหม่ำโชว์ แต่ยังคงรับงานแสดงอยู่
            หม่ำเรียน กศน.จบชั้น ม.6 พร้อมกับ ลีซอ ที่เรียนสถาบันเดียวกัน และได้ปริญญาโท มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง และขณะนี้กำลังศึกษาในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
            ในด้านชีวิตครอบครัวหม่ำแต่งงานกับ “มด” เอ็นดู วงษ์คำเหลา หลังใช้ชีวิตด้วยกันมาถึง 22 ปีและมีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ “เอ็ม” นางสาวบุษราคัม วงษ์คำเหลา และ”มิกซ์” เด็กชายเพทาย วงษ์คำเหลา โดยลูกของหม่ำทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศแคนาดา

 รายการและละครโทรทัศน์

ในปัจจุบัน
            * ชิงร้อยชิงล้าน (5 กุมภาพันธ์ 2535 – ปัจจุบัน)
            * หม่ำโชว์ (1 ตุลาคม 2548 – ปัจจุบัน)
            * แฟคทอรี่ที่รัก (5 กันยายน 2552 – ปัจจุบัน)

ในอดีต
           * เวทีทอง (2535 – 2547)
           * โคกคูนตระกูลไข่ (2546)
           * ชัยบดินทร์โชว์ (2546 – 2550)
           * 100 แวง ตะแคง 15 (2541 – 2542)
           * แฟนตาซีมีหาง (2542)
           * ชิงร้อยชิงล้าน ชะ ชะ ช่า ฮามหัศจรรย์วันหยุด (2548 – 2550)
           * มหานคร (2550)
           * ระเบิดเถิดเทิง (2539 – 2546 , 2552)

 ภาพยนตร์
แสดง
            * พ.ศ. 2532 จุ๊ย
            * พ.ศ. 2535 เฉิ่มเฉิ่มแล้วก็ฉ่ำ
            * พ.ศ. 2535 สยองก๋อยส์
            * พ.ศ. 2536 กวนโอ๊ย
            * พ.ศ. 2536 กองร้อย 501 ริมแดง
            * พ.ศ. 2536 คู่หูคู่ฮา
            * พ.ศ. 2536 ผีแม่ม่าย 3
            * พ.ศ. 2536 เธอของเรา ของเขา หรือของใคร
            * พ.ศ. 2536 มนต์เพลงลำน้ำพอง
            * พ.ศ. 2536 บ้านผีปอบ ภาค 11
            * พ.ศ. 2537 ผีไม่กลัวสัปเหร่อ
            * พ.ศ. 2537 มาเติมฝันวันท้าทาย
            * พ.ศ. 2537 บ้านผีปอบ ภาค 13
            * พ.ศ. 2544 มือปืน โลก/พระ/จัน แสดงเป็น หมา ลูกบักเขียบ
            * พ.ศ. 2546 องค์บาก แสดงเป็น อ้ายห่ำแหล่/ยอร์จ
            * พ.ศ. 2547 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม แสดงเป็น วงศ์คม (เป็นผู้กำกับด้วย)
            * พ.ศ. 2547 พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า แสดงเป็น อาทิตย์ (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2547 สายล่อฟ้า แสดงเป็น เฮียหมา (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2548 หลวงพี่เท่ง แสดงเป็น นักเลงหน้าเหลี่ยม (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2548 เฉิ่ม แสดงเป็น สมบัติ ดีพร้อม
            * พ.ศ. 2548 ต้มยำกุ้ง แสดงเป็น จ่ามาร์ค
            * พ.ศ. 2548 แหยม ยโสธร แสดงเป็น แหยม (เป็นผู้กำกับด้วย)
            * พ.ศ. 2548 วาไรตี้ ผีฉลุย แสดงเป็น ต้อม เป็นเลิศ
            * พ.ศ. 2549 ไฉไล แสดงเป็น สมรักษ์ / โทนี่ เจ๋ง (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2549 โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2550 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 แสดงเป็น คำเหลา/มัมมี่เหลา (เป็นผู้กำกับด้วย)
            * พ.ศ. 2550 คู่แรด แสดงเป็น ลิลลี่
            * พ.ศ. 2550 เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2550 ก่อนบ่าย เดอะ มูฟวี่ ตอน รักนะ…พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2551 หม่ำ เดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม แสดงเป็น หม่ำ
            * พ.ศ. 2551 นาค พากษ์เป็น เขียว
            * พ.ศ. 2551 ฮะเก๋า แสดงเป็น อสุนี
            * พ.ศ. 2551 ว้อ หมาบ้ามหาสนุก (รับเชิญ/เป็นผู้อำนวยการสร้างด้วย)
            * พ.ศ. 2551 องค์บาก 2 แสดงเป็น ไอ้เหม็น (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2552 หลวงพี่กับผีขนุน แสดงเป็น จ่าคงเดช
            * พ.ศ. 2552 สาระแน ห้าวเป้ง!! แสดงเป็น พี่หม่ำ
            * พ.ศ. 2552 วงษ์คำเหลา แสดงเป็น ท่านชายเพชราวุธ (เป็นผู้กำกับด้วย)
            * พ.ศ. 2552 อีส้ม สมหวัง ชะชะช่า (รับเชิญ)
            * พ.ศ. 2552 แหยม ยโสธร 2 แสดงเป็น แหยม (อยู่ระหว่างถ่ายทำ)

ผลงานกำกับและเขียนบทภาพยนตร์

           * พ.ศ. 2547 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม
           * พ.ศ. 2548 แหยม ยโสธร
           * พ.ศ. 2550 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2
           * พ.ศ. 2551 หม่ำ เดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม
           * พ.ศ. 2552 วงษ์คำเหลา
           * พ.ศ. 2552 แหยม ยโสธร 2 (อยู่ระหว่างถ่ายทำ)

อำนวยการสร้าง

           * พ.ศ. 2551 ว้อ หมาบ้ามหาสนุกโฆษณา
           * วอยซ์ ชุด หม่ำ(วอยซ์) กันทั้งครอบครัว
           * ทรูมูฟ (ทรู มูฟ แจ๋วจริง ลองดิ)
           * ลูกอม คลอเรตต์ (ร่วมกับ วิลลี่ แมคอินทอช)
           * รถจักรยานยนต์ซูซูกิ สแมรช ชุด หมีขาว
           * โบตัน ชุด ละครวิทยุ (ร่วมกับ วรนุช วงศ์สวรรค์)
           * ยำยำ จัมโบ้ รสผัดขี้เมา ชุด กล่องข้าวน้อย 1996
           * กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชุด Q Brand -ลำไย (ร่วมกับ จา พนม)

 หนังสือ

          * หม่ำ มุกแป้ก
          * ความลับในไหปลาแดก
          * นางฟ้าของหม่ำ

 ผลงานเพลง

          * อัลบั้ม หม่ำ..ซะ(3 เวลาก่อนอาหาร) (2537)
          * อัลบั้ม 2542 เสี่ยวเต็มเมือง (มีเพลง เฮ็ดจังได๋)
          * เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง แหยม ยโสธร
          * เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2

ผลงานอื่นๆ

          * หม่ำ On Stage ตอน หม่ำมองเครื่องบิน

เหตุผลที่ชื่นชอบคุณเพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา – หม่ำ จ๊กม๊ก
         
          ก่อนอื่นต้องขอบอกเหตุผลแรกก่อนเลยว่า ชอบที่ หม่ำ จ๊กม๊ก เป็นคนอีสานเหมือนกัน ชอบในความขยัน อดทนในการทำงาน มีความอุตสาหะที่จะทำตามความฝันของตนให้สำเร็จถึงแม้ว่าพื้นฐานชีวิตที่มีจะไม่ค่อยดีเลย แต่เขาก็มีความตั้งใจที่ศึกษาเล่าเรียนจนจบ และได้ถึงวุฒิการศึกษาปริญญาโท ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก และยังสามารถสร้างครอบครัวที่อบอุ่น ส่งให้ลูกเรียนสูง ๆ ได้

         สำหรับการทำงานของเขา ดิฉันชอบในความคิดที่สร้างสรรค์ในการทำงาน มีความคิดที่แปลกใหม่และรู้จักพัฒนาการทำงานของตนให้ก้าวหน้า ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จนเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลโดยทั่วไป