17 มกราคม 2553

การดูกรีฑา

การดูกรีฑา






1. กรีฑา มีการแข่งขัน 2 ประเภท คื


         1.1 การแข่งขันประเภทลู่ มีการจับเวลา แข่งขันครั้งเดียวก็ถือผลแพ้ชนะได้ มีการเสมอกัน คือเวลาเท่ากันอาจตัดสินด้วยภาพ หรือจับสลากเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันในรอบต่อไป ถ้ามีนักกีฬาสมัครเข้าแข่งขันมากคน ก็ใช้วิธีการคัดเลือกหลายๆ รอบ ในรอบชิงชนะเลิศนั้น เฉพาะอันดับที่ 1 อาจให้แข่งขันกันใหม่ก็ได้ หรือให้เป็นไปตามผลคือเสมอกัน
        1.2 ในการแข่งขันประเภทลาน ไม่มีการจับเวลาในการแข่งขัน แต่จะมีการประลองเท่านั้น ไม่มีการเสมอกัน จะต้องตัดสินแพ้ชนะกันเด็ดขาด


2. การประลอง มีเฉพาะการแข่งขันประเภทลานเท่านั้น กำหนดการประลองไว้ดังนี้


        2.1 ถ้ามีนักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน ก็ให้ประลองคนละ 3 ครั้ง เพื่อคัดเอาไว้ 8 คน ถ้าอันดับที่ 8 ยังเสมอกันอยู่ก็ให้ประลองกันอีกคนละ 3 ครั้ง และได้กำหนดระยะเวลาในการประลองไว้ดังนี้
        2.2 ประเภทกระโดดสูง กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มน้ำหนัก ขว้างค้อน และพุ่งแหลน ให้เวลาประลอง 1 นาที 30 วินาที
        2.3 กระโดดค้ำ ให้เวลาประลอง คนละ 2 นาที ถ้ามีนักกีฬาคนเดียว ก็ให้ประลอง 5 นาที


3. การเสมอกัน ถ้ามีการเสมอกันให้ปฏิบัติดังนี้


       3.1 กระโดดสูง ให้เลื่อนไม้พาดขึ้นขั้นละ 2 ซม.
       3.2 กระโดดค้ำ ให้เลื่อนไม้พาดขึ้นขั้นละ 5 ซม.
       3.3 แผนกที่ตัดสินด้วยระยะทาง ก็ให้ดูสถิติที่ดีที่สุดในอันดับ 2,3 รองลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้ายังเสมอกันอยู่ก็ให้แข่งขันใหม่


4. การเข้าเส้นชัย นักกีฬาจะต้องใช้ส่วนหนาของลำตัว (หน้าอก) ถึงด้านหน้าของเส้นชัย ในแนวดิ่ง (ยกเว้น หัว คอ แขน ขา มือ เท้า)


5. ช่องวิ่งหรือลู่วิ่ง ช่องกว้าง 1.22 เมตร


           5.1 การแข่งขันวิ่งระยะทางไม่เกิน 400 เมตร จะต้องวิ่งในลู่ของตนเอง เริ่มวิ่งจากท่านั่งและใช้เครื่องยันเท้า รวมทั้งการวิ่งผลัด
           5.2 การแข่งขันวิ่งที่ไม่ได้กำหนดช่องวิ่งเฉพาะตัวไว้ เส้นเริ่มวิ่งจะต้องเป็นเส้นโค้ง เพื่อให้ทุกคน มีระยะยทางวิ่งไปถึงเส้นชัยเท่ากัน ให้เริ่มวิ่งในท่ายืน ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยยันเท้า


6. การแข่งขัน มีหลายประเภทดังนี้


          6.1 วิ่งข้ามรั้ว แต่ละรั้วจะมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัม การกระโดดข้ามทำให้รั้วล้มไม่มีผลต่อการตัดสิทธิ์จากการแข่งขันและการทำสถิติ
          6.2 วิ่งวิบาก จะต้องมีการกระโดดข้ามรั้วไม้และน้ำ (แอ่งน้ำ) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องข้ามรั้วแล้วจะกระโดดข้ามน้ำหรือลุยน้ำไปก็ได้
          6.3 วิ่งผลัด จะต้องรับไม้ในเขตรับไม้ของตนเอง ต้องถือไม้ตลอดเวลาถ้าทำไม้ตก จะต้องกลับมาเก็บด้วยตนเอง
          6.4 กระโดดสูง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว การเลื่อนไม้พาดขึ้นครั้งละไม่น้อยกว่า 3 ซม. ถ้ากระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขัน ต้องออกจากการแข่งขัน
          6.5 กระโดดค้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะใช้สารเกาะติดทามือหรือไม้ก็ได้ ห้ามใช้แถบยางพันมือหรือนิ้ว
          6.6 กระโดดไกล จะกระโดดแบบตีลังกาไม่ได้ จะวัดรอยที่หลุมทรายด้านใกล้กับกระดานกระโดดมากที่สุด รอยนั้นอาจจะเกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้
          6.7 เขย่งก้าวกระโดด จะต้องเขย่งแล้วเหยียบพื้นด้วยเท้าเดียวกันกับที่เหยียบกระดานกระโดด แล้วก้าวโดยใช้อีกเท้าข้างหนึ่งต่อไป จึงทำการกระโดด
          6.8 ทุ่มน้ำหนัก ต้องยืนทุ่มออกจากวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.135 เมตร ต้องเริ่มจากท่านิ่งจะทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว ห้ามเงื้อ, เวลาเตรียมให้ยืน ลูกน้ำหนักจะอยู่ที่คอใกล้คาง ลูกที่ทุ่มไปจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด
          6.9 ขว้างจักร จะต้องยืนขว้างออกจากวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.50 เมตร เริ่มจากท่านิ่ง จะต้องขว้างด้วยมือข้างเดียว จักรจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด
          6.10 การขว้างค้อน จะยืนขว้างออกจากวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.135 เมตร ต้องขว้างในกรงรูปตัวยู เริ่มจากท่านิ่ง ค้อนที่ขว้างจะต้องตกภายในรัศมีที่กำหนด
          6.11 พุ่งแหลน จะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่ หรือเหนือแขนท่อนบนของมือที่จับแหลน จะพุ่งไม่เหวี่ยงหรือขว้าง ผลของการพุ่งก็เพียงหัวของแหลนตกถึงพื้นดินก่อนส่วนอื่นๆ ก็ถือว่าดี
          6.12 การเดิน คือการก้าวไปข้างหน้าโดยการก้าวเท้านั้น คงการสัมผัสพื้นไว้ เท้านำจะต้องเหยียดตึง (ไม่งอเข่า) ทันทีที่สัมผัสพื้น จนกว่าจะเลยแนวตั้งฉากกับลำตัวเสียก่อน ถ้าเดินผิดกติกาจะถูกเตือน ถ้าถูกเตือน 3 ครั้ง จะต้องออกจากการแข่งขัน การตั้งจุดให้น้ำนั้น ถ้าไม่เกิน 20 กม. ตั้งที่ไหนก็ได้ ถ้าเกิน 20 กม. ขึ่นไป ให้ตั้งทุก 5 กม. นักกีฬาคนใดรับน้ำหรือผ้าเย็น จากที่อื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ จะต้องถูกปรับแพ้และออกจากการแข่งขันทันที


7. ปัญจกรีฑา, ทศกรีฑา และสัตกรีฑา


          7.1 ปัญจกรีฑา (เฉพาะชาย) มี 5 ประเภท จะต้องแข่งขันตามลำดับ คือ กระโดดไกล, พุ่งแหลน, วิ่ง 200 เมตร, ขว้างจักร และวิ่ง 1,500 เมตร
          7.2 ทศกรีฑา (เฉพาะชาย) มี 10 ประเภท จัดแข่งขันตามลำดับ 2 วัน คือ วิ่ง 100 เมตร, กระโดดไกล, ทุ่มน้ำหนัก, กระโดสูง, วิ่ง 400 เมตร, วิ่งข้ามรั้วระยะทาง 110 เมตร (รั้วสูง 1.067 เมตร), ขว้างจักร, กระโดดค้ำ, พุ่งแหลน, และวิ่ง 1,500 เมตร
          7.3 สัตตกรีฑา (เฉพาะหญิง) มี 7 ประเภท จัดแข่งขัน 2 วัน ตามลำดับคือ วิ่งข้ามรั้ว ระยะทาง 100 เมตร (รั้วสูง 0.838 เมตร) กระโดดสูง, วิ่ง 200 เมตร, กระโดดไกล,พุ่งแหลน และวิ่ง 800 เมตร


การตัดสิน


          นักกีฬาผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ชนะ ถ้าเสมอกันให้ผู้เข้าแข่งขันมากประเภทว่าเป็นผู้ชนะ ถ้ายังเสมอกันอยู่อีกก็ถือคะแนนที่มากกว่าในประเภทใดประเถทหนึ่งเป็นผู้ชนะ นักกีฬาใดไม่ประลองในประเภทใดประเภทหนึ่งให้ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขันต่อไป ต้องออกจากสนามทันที



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น