17 มกราคม 2553

เกร็ดของกรีฑา

เกร็ดกรีฑา



           ก. การพิจารณาลักษณะการเข้าเส้นชัยที่ถูกต้องในการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่ ดูจากส่วนของ ลำตัวตั้งแต่ต้นคอ ลำตัวจนถึงเอว และรวมทั้งหัวไหล่ด้วย (ไม่รวมแขน ศีรษะ คอ ขา มือหรือเท้า) ถึงระดับของเส้นชัย ตามแนวดิ่งโดยถือเอาขอบที่ปลายเส้นชัย เป็นหลัก


          ข. สำหรับการแข่งขันประเภทลาน ผู้ที่ทำสถิติได้ดีที่สุด ถือเป็นผู้ชนะ


          ค. ในการรับส่งไม้ที่ถือว่าสมบูรณ์ในการแข่งขันวิ่งผลัด คือ การส่งด้วยมือของผู้ส่งกับผู้รับ และต้องอยู่ในเขตรับส่ง 20 เมตร โดยสังเกตตำแหน่งของไม้ผลัดเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับร่างกายนักกีฬา


         ช. การแข่งขันวิ่งวิบาก มีระยะทางคือ 2,000 ม. (สำหรับการแข่งขันประเภทเยาวชน) 3,000


         ม.(สำหรับการแข่งขันประเภทประชาชนทั่วไป)


สำหรับบ่อน้ำอยู่นอกสนาม


         ในการแข่งขันวิ่งวิบาก 2,000 ม.(วิ่งประมาณ 4รอบกับอีก300ม. ) จะกระโดดข้ามรั้ง ธรรมดา 4 รั้ว รวม 18 ครั้ง และกระโดดข้ามรั้วน้ำ 1 รั้วรวม 5 ครั้ง
         และการแข่งขันวิ่งวิบาก 3,000 เมตร ข้ามรั้วธรรมดา 4 รั้ว รวม 28 ครั้ง (7 รอบ) กระโดดข้ามรั้วน้ำ 1 รั้ว รวม 7 ครั้ง ซึ่งรั้วน้ำนี้จะอยู่ลำดับที่ 4 ของแต่ละรอบ(วิ่งประมาณ 7 รอบกับ 55ม.)


สำหรับบ่อน้ำในสนาม


          ในการวิ่ง 2,000 ม.จะวิ่ง 5 รอบ อีกประมาณ 16 เมตรโดยวิ่งข้ามรั้วที่สามเป็นรั้วแรกในรอบแรก
ส่วนการวิ่ง 3,000 ม. นักกีฬาจะวิ่ง 7 รอบกับอีกประมาณ 225 ม.โดยการวิ่งช่วงแรกประมาณ 225 ม. จะวิ่งตามลู่ของช่องที่ 1 เมื่อวิ่งครบประมาณ 225 ม.แล้วจึงจะเริ่มข้ามรั้วแรก รั้วที่สอง รั้วที่สามแล้ววิ่งเข้าด้านในกระโดดข้ามรั้วน้ำเป็นรั้วที่สี่ และรั้วธรรมดาเป็นรั้วที่ 5


การวิ่งในหน้าร้อน


         เมืองไทยเป็นเมืองที่มีอุณหภูมร้อนเกือบตลอดทั้งปี จนแม้แต่กลางวันของฤดูหนาว อากาศก็ยังร้อนมากภายใต้แสงแดด ส่วนฤดูร้อนโดยเฉพาะใกล้วันสงกรานต์ ในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ถ้าใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดกลางแดดคงต้องสูงกว่า 40 C แน่นอน แต่คนเรานั้นมีอุณหภูมิของร่างกายเพียง 37 C เท่านั้น ดังนั้นการวิ่งใต้อาคารที่ร้อนอบอ้าว กลางแดดคงทำให้เลือดของเราเดือดพล่านได้และที่ร้ายแรง คือ การสูญเสียน้ำจากร่างกายไปในลักษณะของเหงื่อที่หลั่งไหลออกมาในขณะทำการวิ่ง ท่านที่อยากจะวิ่งเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงคงแสดงความพอใจไม่น้อยในการที่เหงื่อไหลออกมา เพราะมีความเชื่อว่าถ้าเหงื่ออกมามากเท่าไหร่ น้ำหนักก็ยังลดได้เร็วขึ้น นับเป็นการมองผลที่ปรากฏออกมาชั่วคราวเท่านั้น แน่นอนเมื่อเราหยุดวิ่งและดื่มน้ำเข้าไปน้ำที่เสียไปก็จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายอีก น้ำหนักก็จะกลับเข้าสู่สภาพเดิม ปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการหมดสติหรือเป็นลมฟุบลงก็คือการสูญเสียนี้


ทำไมการสูญเสียเหงื่อออกมามากนั้นจึงนับเป็นเรื่องอันตรายต่อสุขภาพของร่างกายได้ จะเห็นได้ว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดย่อมขาดน้ำไม่ได้ และที่สำคัญที่สุดคือการที่เหงื่อออกจากร่างกายมากก็จะทำให้สูญเสียเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการอย่างมากไป อันเนื่องมาจากเหงื่อนั้นจะขับออกมาพร้อมกับน้ำและสามารถเห็นถ้าเราปล่อยให้แห้งเอง จะมีคราบเกลือติดอยู่บนผิวหนัง หรือเสื้อผ้า และถ้าลองชิมรสก็จะพิสูจน์ได้ว่ามีรสเค็มเหมือนเกลือ ดังนั้นการที่คนเราสูญเสียเกลือแร่ ก็จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังลงและอาจไม่ยอมทำงานและถ้าเรายังฝืนวิ่งต่อไป ผลก็คือเกิดการเป็นตะคริวหรือชักกระตุกไ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น